วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การบ้านหาคำศัพท์ Network ครั้งที่ 2 นายเอกชัย ไชยวิทย์ รหัสนักศึกษา 2561051542304

คำศัพท์เกี่ยวกับระบบ Network



1. ISP (Internet Service Privider) คือ ศูนย์ให้บริการเชื่อมต่อ ติดต่อสื่อสารเข้าสู่ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เมื่อท่านสมัครเป็นสมาชิกกับศูนย์บริการนั้นๆ ก็จะมีรหัสผ่านที่จะเข้าสู่ระบบของอินเตอร์ได้เช่น KSC, CS Internet, Lox info, TOT, 3BB และ True เป็นต้น


2. PPPoE (Point-to-Point Protocol over Ethernet) คือ การ พัฒนาต่อมาจาก PPP หรือ 56kb เดิม มาเป็น PPPoE ซึ่งให้ความเร็วอินเตอร์เน็ตมากขึ้น และ security มากขึ้นกว่าเดิม


3. IGMP (Internet Group Mmmanagement Protocol) คือ IGMP นั้นเป็นโพรโตคอลหลักที่ควบคุมการทำงานแบบมัลติคาสต์ โดยฟังก์ชันแล้วจะทำหน้าที่คล้ายๆ กับ ICMP ของ Unicast คือ ควบคุมดูแลการสื่อสาร โดยแนวคิดการสื่อสารของมัลติคาสต์นั้นจะอยู่บนคอนเซ็ปต์ของ Group คือจะมองคนที่จะสื่อสารกันว่าเป็นกลุ่มเดียวกัน (Group) ทุกคนที่อยู่ในกลุ่มนี้ก็จะรับข้อมูลเหมือนๆ กัน และก็สามารถส่งข้อมูลให้คนอื่นๆ เห็นได้ด้วย (แน่นอนว่าส่งได้คราวละหนึ่งคนเท่านั้น) คล้ายการประชุม ทุกเครื่องที่จะรับข้อมูลจากกลุ่มจะต้องสมัครเป็นสมาชิกของกลุ่มนั้นก่อน

4. Qos (Quality-of-Service) คือ QoS เป็นตัวกำหนดชุดของคุณสมบัติของประสิทธิภาพของการติดต่อ หรือเรียกว่าเป็นการส่งข้อมูลในเครือข่ายโดยรับประกันว่าการส่งข้อมูลจะเป็นไปตามคุณภาพหรือเงื่อนไขที่ต้องการ เช่น ดีเลย์ แบนด์วิดธ์ การเปลี่ยนแปลงของดีเลย์ (jitter) อัตราการสูญหายของข้อมูล (loss) หลักการทั่วไปของ QoS Routing จึงเป็นการตรวจวัดและควบคุมการไหลของข้อมูลให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด โดยวิธีการพื้นฐานของ QoS มีอยู่ 2 แบบด้วยกัน คือ Reservation และ Prioritization

5. PPTP (Point to Point Tunneling Protocol) คือ PPTP เป็นโปรโตคอลสำหรับสร้าง Tunnel ที่ใช้รับส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายสาธารณะ เช่น Internet พัฒนาขึ้นโดยกลุ่มบริษัท Microsoft, 3Com และ Ascend Communication โดย PPTP สามารถผนึกเฟรมของข้อมูลได้หลายชนิด เช่นIP, IPX หรือ NetBEUI แล้วส่งเฟรมเหล่านี้ผ่านเฟรม PPP ตามปกติ เมื่อตรวจดูข้อมูลที่ถูกส่งออกไปจะเสมือนกับการรับส่งเฟรม PPP ตามธรรมดาของคอมพิวเตอร์สองระบบ ซึ่งแท้ที่จริงแล้วข้อมูลที่รับส่งอาจจะเป็นเฟรม IP, IPX หรือNetBEUI ที่คอมพิวเตอร์ทำการรับส่งข้อมูลกันจริงๆก็ได้ เมื่อใช้การเข้ารหัสและการลดข้อมูลเข้าไปอีก การรับส่งข้อมูลก็จะปลอดภัยมากยิ่งขึ้น


6. Subnet Mask คือ Subnet mask เป็น Parameter อีกตัวหนึ่งที่ต้องระบุควบคู่กับหมายเลข IP Address หน้าทีของ subnet คือ ตัวที่แบ่ง IP address ที่ได้มาให้เป็นกลุ่มย่อย ช่วยในการแยกแยะว่าส่วนใดภายในหมายเลข IP Address เป็น Network Address และส่วนใดเป็นหมายเลข Host Address ดังนั้น ท่านจะสังเกตได้ว่า เมื่อเราระบุ IP Address ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เราจำเป็นต้องระบุ Subnet mask ลงไปด้วยทุกครั้ง
Default Subnet mask ของแต่ล่ะ Class ดั้งนี้
• Class A จะมี Subnet mask เป็น 255.0.0.0 หรือเลขฐานสองดัง้นี้
11111111.00000000.00000000.00000000
(รวมเลข 1 ให้หมด ก็จะได้เท่ากับ 255)
• Class B จะมี Subnet mask เป็น 255.255.0.0 หรือเลขฐานสองดัง้นี้
11111111.11111111.00000000.00000000
• Class C จะมี Subnet mask เป็น 255.255.255.0 หรือเลขฐานสองดัง้นี้
11111111.11111111.11111111.00000000



7. Port Forwarding คือ Port forwarding นั้นเป็นเทคนิคที่ใช้ควบคู่กับการทำ NAT หรือ Network Address Translation หรือถ้าให้นึกภาพตามง่ายๆ ก็คือการแชร์อินเทอร์เน็ตให้หลายๆ เครื่องสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้พร้อมกัน โดยที่เครื่องแต่ละเครื่องไม่จำเป็นต้องมี IP จริงอยู่ทุกเครื่อง แต่จะให้ IP แค่ชุดเดียวสำหรับเครื่องหรืออุปกณ์ที่ทำหน้าที่เป็นGateway ของระบบแลน ที่เหลือก็ใช้การแปลง Address แล้วส่งข้อมูลเป็นทอดๆ เท่านั้นเอง ซึ่งการทำ NAT นั้นจะเอื้อประโยชน์ให้เครื่องที่อยู่ในวงแลนสามารถติดต่ออินเทอร์เน็ตได้อย่างอิสระ ในทางกลับกัน เครื่องอื่นๆ ที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต จะไม่สามารถติดต่อกลับเข้ามายังเครื่องคอมพิวเตอร์ในวงแลนที่ทำ NAT ได้โดยตรงเลย เนื่องจากไม่ทราบว่าจะต้องติดต่อไปที่เครื่องไหน ดังนั้น Port Forwarding จึงเข้ามาช่วยในส่วนนี้ให้เครื่องจากภายนอกสามารถติดต่อกับเครื่องในวงแลนที่อยู่ภายใต้ NAT ได้


8. Routing คือ โพรโทคอลที่ใช้ในการแลกเปลี่ยน routing table ระหว่างอุปกรณ์เครือข่ายต่างๆที่ทำงานในระดับ Network Layer (Layer 3) เช่น Router เพื่อให้อุปกรณ์เหล่านี้สามารถส่งข้อมูล (IP packet) ไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทางได้อย่างถูกต้อง โดยที่ผู้ดูแลเครือข่ายไม่ต้องแก้ไขข้อมูล routing table ของอุปกรณ์ต่างๆตลอดเวลา เรียกว่าการทำงานของ Routing Protocol ทำให้เกิดการใช้งาน dynamic routing ต่อระบบเครือข่าย


9. BGP (Border Gateway Protocol) คือ เป็นโปรโตคอลสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลของเส้นทางระหว่าง gateway host (ซึ่งแต่ละที่จะมี router ของตัวเอง) ในเครือข่ายแบบอัตโนมัติ BGP มักจะได้รับการใช้ระหว่าง gateway host บนระบบอินเตอร์เน็ต ตาราง routing ประกอบด้วยรายการของ router ตำแหน่งและตารางค่าใช้จ่าย (cost metric) ของเส้นทางไปยัง router แต่ละตัว เพื่อการเลือกเส้นทางที่ดีที่สุด 
         Host ที่ใช้การติดต่อด้วย BGP จะใช้ Transmission Control Protocol (TCP) และส่งข้อมูลที่ปรับปรุงแล้วของตาราง router เฉพาะ host ที่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลง จึงมีผลเฉพาะส่วนของตาราง router ที่ส่ง BGP-4 เป็นเวอร์ชันล่าสุด ซึ่งให้ผู้บริหารระบบทำการคอนฟิก cost metric ตามนโยบาย 

           การติดต่อด้วย BGP ของระบบ แบบอัตโนมัติที่ใช้ Internet BGP (IBGP) จะทำงานได้ไม่ดีกับ IGP เนื่องจาก router ภายในระบบอัตโนมัติต้องใช้ตาราง routing 2 ตาราง คือ ตารางของ IGP (Internet gateway protocol) และตารางของ IBGP BGP เป็นโปรโตคอลที่ทันสมัยกว่า Exterior Gateway Protocol

10. Gateway คือ เป็นจุดต่อเชื่อมของเครือข่ายทำหน้าที่เป็นทางเข้าสู่ระบบเครือข่ายต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ต ในความหมายของ router ระบบเครือข่ายประกอบด้วย node ของ gateway และ node ของ host เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ในเครือข่าย และคอมพิวเตอร์ที่เครื่องแม่ข่ายมีฐานะเป็น node แบบ host ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการจราจรภายในเครือข่าย หรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต คือ node แบบ gateway ในระบบเครือข่ายของหน่วยธุรกิจ เครื่องแม่ข่ายที่เป็น node แบบ gateway มักจะทำหน้าที่เป็นเครื่องแม่ข่ายแบบ proxy และเครื่องแม่ข่ายแบบ firewall นอกจากนี้ gateway ยังรวมถึง router และ switch


วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การบ้านหาคำศัพท์ Network ครั้งที่ 1 นายเอกชัย ไชยวิทย์ รหัสนักศึกษา 2561051542304

คำศัพท์เกี่ยวกับระบบ Network


1. SMTP (Simple Mail Transfer Protocol) คือ Protocol และ TCP/IP ที่ใช้ในการส่ง E-Mail ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไปยังเครื่องบริการอื่นๆ ซึ่งสามารถส่งข้อมูลอีเมล์ไปยังผู้ใช้ได้ทั่วโลก มีข้อจำกัดคือ สามารถทำได้แบบเป็นคิวเท่านั้น


2. FTP (File Transfer Protocol) คือ Protocol เครือข่ายชนิดหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ในการถ่ายโอนไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างการถ่ายโอนไฟล์ระหว่าง Client กับ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เ็ป็นแม่ข่ายเรียกว่า โฮสติง (hosting) หรือ Server ซึ่งทำให้การถ่ายโอนไฟล์ง่ายและปลอดภัยในการแลกเปลี่ยนไฟล์ผ่านอนเตอร์เน็ต

3. DNS (Domain Name System) คือ ระบบจัดการแปลงชื่อไปเป็นหมายเลย IP Address โดยมีโครงสร้างฐานข้อมูลแบบลำดับชั้นเพื่อใช้เก็บข้อมูลที่เรียกค้นได้อย่างรวดเร็ว

4. SNMP (Simple Network Management Protocol) คือ Protocol ซึ่งใช้จัดการเครือข่าย TCP/IP ที่ซับซ้อน การใช้ Protocol SNMP ทำ้ให้ผู้ดูแลสามารถจัดการและกำหนดค่าคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายได้จากคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางแทนการเรียกใช้ซอฟต์แวร์ด้านการจัดการเครือข่ายผู้ดูแลยังใช้ Protocol SNMP ตรวจสอบประสิทธิภาพเครือข่าย ตรวจหาปัญหาเครือข่าย ตลอดจนติดตามผู้ใช้และวิธีการใช้เครือข่ายได้อีกด้วย

5. RPC (Remote Procedure Call) คือ Protocol ที่โปรแกรมหนึ่งสามารถใช้คำขอบริการโปรแกรมที่ตั้งอยู่ในเครือข่ายโดยไม่ต้องเข้าใจรายละเอียดเครือข่าย RPC ใช้แบบจำลองลูกข่าย / แม่ข่าย

6. TFTP (Trivial File Transfer Protocol) เป็นกระบวนการรับส่งไฟล์ที่เรียบง่ายกว่า FTP ทั่วไปโดยใช้กลไกการสื่อสารแบบ UDP (User Datagram Protocol) ซึ่งเป็น Protocol ที่ทำงานแบบ Connectionless ซึ่งผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องใส่รหัส หรือ Password  แต่จะทำได้เพียงโอนข้อมูลที่จัดเตรียมไว้เท่านั้นแต่จะไม่มีฟังก์ชั่นอื่นๆ เช่น การแสดงรายชื่อไฟล์, การเปลี่ยนไดเร็คเทอรี่

7. ICMP (Internet Control Message Protocol) คือ Protocol ที่ใช้ในการตรวจสอบและรายงานสถานภาพของ Datagram ในกรณีที่เกิดปัญหากับ Datagram เช่น Router ไม่สามารถส่ง Datagram ไปถึงปลายทางได้ ICMP จะถูกส่งออกไปยัง host ต้นทางเพื่อรายงานข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น แต่อย่างไรก็ดีไม่มีอะไรรับประกันได้ว่า ICMP Message ที่ส่งไปจะถึงผู้รับจริงหรือไม่หากมีการส่ง Datagram ออกไปแล้วไม่มี ICMP Message ฟ้อง Error กลับมาก็แปลความหมายได้สองกรณี คือ ข้อมูลถูกส่งไปถึงปลายทางอย่างเรียบร้อยหรืออาจจะมีปัญหาก็ได้

8. NFS (Network File System) คือ ระบบไฟล์ที่เชื่อมโยงดิสก์หรือทรัพยากรบนเครื่องที่อยู่ห่างออกไป ให้เป็นเสมือนระบบไฟล์บนเครื่องท้องถิ่น ซึ่งปัจจุบัน NFS ได้มีออกมา 3 เวอร์ชั่น โดยเวอร์ชั่น 3 เป็นแบบที่อาศัย RPC (Remote Procedure Call) โดยถูกอธิบายเป็น Protocol ที่ไม่มีสถานะ (Stateless Protocol) หรือหมายถึงเป็น Protocol ที่ทำงานแบบถามมา-ตอบไป เมื่อได้มีการส่งหรือรับคำตอบกลับไปแล้วก็เสมือนจบการติดต่อไปเลย คือ ไม่ต้องมีการรอคอยดำเนินการใดๆ จากอีกด้านหนึ่งต่อไป

9. RARP (Reverse Address Resolection Protocol) คือ เป็น Protocol ซึ่งเครื่องทางกายภาพในเครือข่าย LAN สามารถขอเรียนรู้ IP Address จากเครื่องแม่ข่าย geteway หรือ ตาราง Address Resolution Protocol ผู้บริหารเครือข่ายสร้างตารางใน geteway router ของเครือข่าย LAN ที่ใช้จับคู่ address ของเครื่องทางกายภาพ (หรือ Media Access Control address) ที่ตรงกับ Internet Protocol addressn เมื่อมีการติดตั้งเครื่องใหม่โปรแกรมลูกข่ายของ RARP จะขอ RARP Server จาก Router ให้ส่ง IP Address มาให้ สมมติว่ามีการตั้งค่าในตาราง Router แล้ว RARP Server จะส่งกลับ IP Address ไปที่เครื่องซึ่งจะเก็บไว้สำหรับการใช้ต่อไป

10. ARP (Address Resolution Protocol) คือ Protocol สำหรับการจับคู่ (map) ระหว่าง Internet Protocol address (IP Address) กับตำแหน่งของอุปกรณ์ ในระบบเครือข่าย เช่น IP เวอร์ชั่น 4 ใช้การระบุตำแหน่งขนาด 32 บิต ใน Enternet ของระบบใช้การระบุตำแหน่ง 48 บิต (การระบุตำแหน่งของอุปกรณ์รู้จักในชื่อของ Media Access Control หรือ MAC Address กับ IP Address โดย ARP ใช้กฏของ Protocol สำหรับการสร้างการจับคู่และแปลงตำแหน่งทั้งสองฝ่าย

วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2556

แบบทดสอบก่อนเรียน วิชาเครือข่าย นายเอกชัย ไชยวิทย์ รหัสนักศึกษา 2561051542304

จงให้คำนิยามของคำศัพท์ต่อไปนี้

1.1 Internet/Intranet/Extranet
1.2 Modem
1.3 Switch/Hub
1.4 DHCP Server
1.5 ADSL Router
1.6 ISDN
1.7 LAN/MAN/WAN
1.8 Firewall
1.9 Topology แบบ Bus
1.10 TCP/IP
2. จงยกตัวอย่างสื่อนำสัญญาณที่รู้จักมา 3 อย่างพร้อมอธิบายพอสังเขป
3. จงบอกประโยชน์ของระบบเครือข่ายมา 5 ข้อ
4. จงออกแบบระบบเครือข่ายสำหรับร้านอินเตอร์เนฌ็ตคาเฟ่ เพื่อรองรับเครื่องคอมพิวเตอร์ประมาณ 20 เครื่อง

1.1 ตอบ Internet คือ ระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆเครือข่ายเข้าด้วยกันทั่วโลก
               Intranet คือ ระบบเครือข่ายขนาดย่อยที่ใช้ภายในองค์กรโดยที่ไม่มีการเชื่อมต่อเครือข่ายภายนอก ใช้งานแค่ภายในองค์กร
               Extranet คือ ระบบเครือข่าย Intranet มีการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายไปยังองค์กรที่เป็นการเชื่อมสาขาต่อสาขา ใช้งานแค่สาขาหนึ่งไปยังสาขาหนึ่งเท่านั้น

1.2 ตอบ Modem คือ อุปกรณ์ในการแปลงสัญญาณในระบบ Analog เป็นสัญญาณ Digital

1.3 ตอบ Switch/Hub คือ อุปกรณ์ที่ทำการเชื่อมต่อทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถสื่อกันกันได้ เช่น PC 1 ไป P5 ก็สามารถสื่อสารกันได้

1.4 ตอบ DHCP Server คือ เป็นระบบในการแจก IP Address หรือเป็นตัวแปลงจาก HTTP เป็น IP เช่น www.google.com เป็น 74.125.224.72

1.5 ตอบ ADSL Router คือออุปกรณ์เชื่อมต่อ ADSL มีคุณสมบัติในการแชร์อินเทอร์เน็ตภายในองค์กร เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ เราเตอร์มาพร้อมกับพอร์ต RJ45 ที่สามารถเชื่อมต่อเข้ากับ Switch/Hub ได้

1.6 ตอบ ISDN คือ บริการสื่อสารร่วม หมายถึงสามารถรับส่งสัญญาณภาพ เสียง และข้อมูลได้พร้อมกัน ในระบบดิจิตอล

1.7 ตอบ LAN คือ ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตขนาดเล็กที่มีการเชื่อมต่อแค่ภายในระดับองค์กร
              MAN คือ ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตขนาดใหญ่กว่าระบบ LAN ที่มีการเชื่อมต่อในระดับจังหวัด
              WAN คือ ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ที่มีการเชื่อมต่อในระดับประเทศหรือทั่วโลก

1.8 ตอบ Firewall คือ ระบบตรวจสอบผู้ใช้ภายในและภายนอกเครือข่างในการเข้าถึงข้อมูล เปรียบเสมือน ยาม ของระบบเครือข่าย

1.9 ตอบ Topology แบบ Bus เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ ทุกเครื่องบนสายสัญญาณหลักเส้นเดียว ที่เรียกว่า BUS หรือ TRUNK ที่ปลายทั้งสองด้านปิดด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Terminator ไม่มีคอมพิวเตอร์เครื่องใด เครื่องหนึ่ง เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ คอมพิวเตอร์เครื่องใดหยุดทำงาน ก็ไม่มีผลกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ในเครือข่าย

1.10 ตอบ การที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกเชื่อมโยงกันไว้ในระบบ  จะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้นั้น จำเป็นจะต้องมีภาษาสื่อสารที่เรียกว่า โปรโตคอล Protocol ซึ่งในระบบ Internet จะใช้ภาษาสื่อสารมาตรฐานที่ชื่อว่า TCP/IP เป็นภาษาหลัก

 2. ตอบ สาย RJ45 , สาย Modem , สายใยแก้วนำแสง

3. ตอบ 1. ทำให้สามารถประหยัดเวลาในการติดต่อสือสาร
           2. ทำให้สามารถทราบการทำงานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
           3. ทำให้สามารถส่งข้อมูลข่าวสารได้รวดเร็ว
           4. ทำให้สามารถเซ็ตอุปกรณ์เกี่ยวกับเครือข่ายได้
           5. ทำให้มีความรู้ความสามารถในด้านระบบเครือขาย

4. ตอบ ผมใช้ในระบบ Server Diskless โดยเครื่อง PC ไม่ใช้ HDD