คำศัพท์เกี่ยวกับระบบ Network
5. PPTP (Point to Point
Tunneling Protocol) คือ PPTP เป็นโปรโตคอลสำหรับสร้าง Tunnel ที่ใช้รับส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายสาธารณะ เช่น Internet พัฒนาขึ้นโดยกลุ่มบริษัท Microsoft, 3Com และ Ascend
Communication โดย PPTP สามารถผนึกเฟรมของข้อมูลได้หลายชนิด เช่นIP, IPX หรือ NetBEUI แล้วส่งเฟรมเหล่านี้ผ่านเฟรม PPP ตามปกติ เมื่อตรวจดูข้อมูลที่ถูกส่งออกไปจะเสมือนกับการรับส่งเฟรม PPP ตามธรรมดาของคอมพิวเตอร์สองระบบ ซึ่งแท้ที่จริงแล้วข้อมูลที่รับส่งอาจจะเป็นเฟรม IP, IPX หรือNetBEUI ที่คอมพิวเตอร์ทำการรับส่งข้อมูลกันจริงๆก็ได้ เมื่อใช้การเข้ารหัสและการลดข้อมูลเข้าไปอีก การรับส่งข้อมูลก็จะปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
• Class A จะมี Subnet mask เป็น 255.0.0.0 หรือเลขฐานสองดัง้นี้
11111111.00000000.00000000.00000000
(รวมเลข 1 ให้หมด ก็จะได้เท่ากับ 255)
• Class B จะมี Subnet mask เป็น 255.255.0.0 หรือเลขฐานสองดัง้นี้
11111111.11111111.00000000.00000000
• Class C จะมี Subnet mask เป็น 255.255.255.0 หรือเลขฐานสองดัง้นี้
11111111.11111111.11111111.00000000
1. ISP (Internet Service Privider) คือ
ศูนย์ให้บริการเชื่อมต่อ ติดต่อสื่อสารเข้าสู่ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
เมื่อท่านสมัครเป็นสมาชิกกับศูนย์บริการนั้นๆ
ก็จะมีรหัสผ่านที่จะเข้าสู่ระบบของอินเตอร์ได้เช่น KSC, CS Internet, Lox
info, TOT, 3BB และ True เป็นต้น
2. PPPoE (Point-to-Point Protocol over Ethernet) คือ การ
พัฒนาต่อมาจาก PPP หรือ 56kb เดิม
มาเป็น PPPoE ซึ่งให้ความเร็วอินเตอร์เน็ตมากขึ้น และ security
มากขึ้นกว่าเดิม
3. IGMP
(Internet
Group Mmmanagement Protocol) คือ
IGMP นั้นเป็นโพรโตคอลหลักที่ควบคุมการทำงานแบบมัลติคาสต์
โดยฟังก์ชันแล้วจะทำหน้าที่คล้ายๆ กับ ICMP ของ Unicast
คือ ควบคุมดูแลการสื่อสาร
โดยแนวคิดการสื่อสารของมัลติคาสต์นั้นจะอยู่บนคอนเซ็ปต์ของ Group คือจะมองคนที่จะสื่อสารกันว่าเป็นกลุ่มเดียวกัน (Group) ทุกคนที่อยู่ในกลุ่มนี้ก็จะรับข้อมูลเหมือนๆ กัน
และก็สามารถส่งข้อมูลให้คนอื่นๆ เห็นได้ด้วย
(แน่นอนว่าส่งได้คราวละหนึ่งคนเท่านั้น) คล้ายการประชุม
ทุกเครื่องที่จะรับข้อมูลจากกลุ่มจะต้องสมัครเป็นสมาชิกของกลุ่มนั้นก่อน
4. Qos (Quality-of-Service) คือ QoS
เป็นตัวกำหนดชุดของคุณสมบัติของประสิทธิภาพของการติดต่อ
หรือเรียกว่าเป็นการส่งข้อมูลในเครือข่ายโดยรับประกันว่าการส่งข้อมูลจะเป็นไปตามคุณภาพหรือเงื่อนไขที่ต้องการ
เช่น ดีเลย์ แบนด์วิดธ์ การเปลี่ยนแปลงของดีเลย์ (jitter) อัตราการสูญหายของข้อมูล
(loss) หลักการทั่วไปของ QoS Routing จึงเป็นการตรวจวัดและควบคุมการไหลของข้อมูลให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด
โดยวิธีการพื้นฐานของ QoS มีอยู่ 2 แบบด้วยกัน
คือ Reservation และ Prioritization
5. PPTP (Point to Point
Tunneling Protocol) คือ PPTP เป็นโปรโตคอลสำหรับสร้าง Tunnel ที่ใช้รับส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายสาธารณะ เช่น Internet พัฒนาขึ้นโดยกลุ่มบริษัท Microsoft, 3Com และ Ascend
Communication โดย PPTP สามารถผนึกเฟรมของข้อมูลได้หลายชนิด เช่นIP, IPX หรือ NetBEUI แล้วส่งเฟรมเหล่านี้ผ่านเฟรม PPP ตามปกติ เมื่อตรวจดูข้อมูลที่ถูกส่งออกไปจะเสมือนกับการรับส่งเฟรม PPP ตามธรรมดาของคอมพิวเตอร์สองระบบ ซึ่งแท้ที่จริงแล้วข้อมูลที่รับส่งอาจจะเป็นเฟรม IP, IPX หรือNetBEUI ที่คอมพิวเตอร์ทำการรับส่งข้อมูลกันจริงๆก็ได้ เมื่อใช้การเข้ารหัสและการลดข้อมูลเข้าไปอีก การรับส่งข้อมูลก็จะปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
6. Subnet Mask คือ Subnet
mask เป็น Parameter อีกตัวหนึ่งที่ต้องระบุควบคู่กับหมายเลข
IP Address หน้าทีของ subnet คือ
ตัวที่แบ่ง IP address ที่ได้มาให้เป็นกลุ่มย่อย
ช่วยในการแยกแยะว่าส่วนใดภายในหมายเลข IP Address เป็น Network
Address และส่วนใดเป็นหมายเลข Host Address ดังนั้น
ท่านจะสังเกตได้ว่า เมื่อเราระบุ IP Address ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เราจำเป็นต้องระบุ
Subnet mask ลงไปด้วยทุกครั้ง
Default Subnet mask ของแต่ล่ะ Class
ดั้งนี้• Class A จะมี Subnet mask เป็น 255.0.0.0 หรือเลขฐานสองดัง้นี้
11111111.00000000.00000000.00000000
(รวมเลข 1 ให้หมด ก็จะได้เท่ากับ 255)
• Class B จะมี Subnet mask เป็น 255.255.0.0 หรือเลขฐานสองดัง้นี้
11111111.11111111.00000000.00000000
• Class C จะมี Subnet mask เป็น 255.255.255.0 หรือเลขฐานสองดัง้นี้
11111111.11111111.11111111.00000000
7. Port
Forwarding คือ Port
forwarding นั้นเป็นเทคนิคที่ใช้ควบคู่กับการทำ NAT หรือ Network Address Translation หรือถ้าให้นึกภาพตามง่ายๆ
ก็คือการแชร์อินเทอร์เน็ตให้หลายๆ เครื่องสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้พร้อมกัน
โดยที่เครื่องแต่ละเครื่องไม่จำเป็นต้องมี IP จริงอยู่ทุกเครื่อง
แต่จะให้ IP แค่ชุดเดียวสำหรับเครื่องหรืออุปกณ์ที่ทำหน้าที่เป็นGateway
ของระบบแลน ที่เหลือก็ใช้การแปลง Address แล้วส่งข้อมูลเป็นทอดๆ
เท่านั้นเอง ซึ่งการทำ NAT นั้นจะเอื้อประโยชน์ให้เครื่องที่อยู่ในวงแลนสามารถติดต่ออินเทอร์เน็ตได้อย่างอิสระ
ในทางกลับกัน เครื่องอื่นๆ ที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต
จะไม่สามารถติดต่อกลับเข้ามายังเครื่องคอมพิวเตอร์ในวงแลนที่ทำ NAT ได้โดยตรงเลย เนื่องจากไม่ทราบว่าจะต้องติดต่อไปที่เครื่องไหน ดังนั้น Port
Forwarding จึงเข้ามาช่วยในส่วนนี้ให้เครื่องจากภายนอกสามารถติดต่อกับเครื่องในวงแลนที่อยู่ภายใต้
NAT ได้
8. Routing คือ โพรโทคอลที่ใช้ในการแลกเปลี่ยน routing table ระหว่างอุปกรณ์เครือข่ายต่างๆที่ทำงานในระดับ Network Layer (Layer
3) เช่น Router เพื่อให้อุปกรณ์เหล่านี้สามารถส่งข้อมูล
(IP packet) ไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทางได้อย่างถูกต้อง
โดยที่ผู้ดูแลเครือข่ายไม่ต้องแก้ไขข้อมูล routing table ของอุปกรณ์ต่างๆตลอดเวลา
เรียกว่าการทำงานของ Routing Protocol ทำให้เกิดการใช้งาน dynamic
routing ต่อระบบเครือข่าย
9. BGP (Border Gateway Protocol) คือ
เป็นโปรโตคอลสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลของเส้นทางระหว่าง gateway host (ซึ่งแต่ละที่จะมี router ของตัวเอง) ในเครือข่ายแบบอัตโนมัติ BGP มักจะได้รับการใช้ระหว่าง
gateway host บนระบบอินเตอร์เน็ต ตาราง routing ประกอบด้วยรายการของ router ตำแหน่งและตารางค่าใช้จ่าย
(cost metric) ของเส้นทางไปยัง router แต่ละตัว
เพื่อการเลือกเส้นทางที่ดีที่สุด
Host ที่ใช้การติดต่อด้วย
BGP จะใช้ Transmission Control Protocol (TCP) และส่งข้อมูลที่ปรับปรุงแล้วของตาราง router เฉพาะ host
ที่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลง จึงมีผลเฉพาะส่วนของตาราง router ที่ส่ง BGP-4 เป็นเวอร์ชันล่าสุด
ซึ่งให้ผู้บริหารระบบทำการคอนฟิก cost metric ตามนโยบาย
การติดต่อด้วย
BGP ของระบบ แบบอัตโนมัติที่ใช้ Internet BGP (IBGP) จะทำงานได้ไม่ดีกับ IGP เนื่องจาก router ภายในระบบอัตโนมัติต้องใช้ตาราง routing 2 ตาราง คือ
ตารางของ IGP (Internet gateway protocol) และตารางของ IBGP
BGP เป็นโปรโตคอลที่ทันสมัยกว่า Exterior Gateway Protocol
10. Gateway คือ
เป็นจุดต่อเชื่อมของเครือข่ายทำหน้าที่เป็นทางเข้าสู่ระบบเครือข่ายต่าง ๆ
บนอินเตอร์เน็ต ในความหมายของ router ระบบเครือข่ายประกอบด้วย
node ของ gateway และ node ของ host เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ในเครือข่าย
และคอมพิวเตอร์ที่เครื่องแม่ข่ายมีฐานะเป็น node แบบ host
ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการจราจรภายในเครือข่าย
หรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต คือ node แบบ gateway ในระบบเครือข่ายของหน่วยธุรกิจ เครื่องแม่ข่ายที่เป็น node แบบ gateway มักจะทำหน้าที่เป็นเครื่องแม่ข่ายแบบ
proxy และเครื่องแม่ข่ายแบบ firewall นอกจากนี้
gateway ยังรวมถึง router และ switch
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น