วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556
วันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2556
สรุปหลัง Midterm ครับ
สรุปหลัง Midterm
จงตอบคำถามต่อไปนี้
1. อธิบายขยายความคำศัพท์เกี่ยวกับระบบเครือข่ายคอพิวเตอร์
****(เขียนตอบข้อละไม่น้อยกว่า 3 บรรทัด หรือวาดรูปประกอบ)***
1.1 การส่งสัญญาณ Multicast คือ
จงตอบคำถามต่อไปนี้
1. อธิบายขยายความคำศัพท์เกี่ยวกับระบบเครือข่ายคอพิวเตอร์
****(เขียนตอบข้อละไม่น้อยกว่า 3 บรรทัด หรือวาดรูปประกอบ)***
1.1 การส่งสัญญาณ Multicast คือ
ตอบ การส่งสัญญาณแบบ Multicast คือ การส่งข้อมูลมัลติมีเดียในงานประยุกต์ทั่วไปผ่านเครือข่ายมักเกิดจากแหล่งส่งแหล่งหนึ่งๆทำหน้าที่กระจายข้อมูลไปยังผู้รับหลายคนพร้อมกัน ตัวอย่างเช่นการถ่ายทอดการประชุม การแพร่ข้อมูลพยากรณ์อากาศ หรือข้อมูลล่าสุดในตลาดหุ้น หากสามารถส่งข้อมูลเหล่านี้เพียงครั้งเดียวไปยังผู้รับหลายคนย่อมช่วยประหยัดแบนด์วิดธ์ได้ เทคนิคการส่งแบบนี้เรียกว่าการส่งแบบ มัลติคาสต์ (multicast) ข้อมูลที่เดินทางไปยังปลายทางจะผ่านอุปกรณ์เครือข่ายเพียงชุดเดียวก่อนจะไปถึงผู้รับปลายทาง
1.2 Proxy Server คือ
ตอบ Proxy Server คือ (Cache) เครื่องแม่ข่ายที่ทำหน้าที่เก็บคอนเทนต่างๆ และช่วยลดการใช้แบนด์วิดช์ภายนอก ช่วยทำให้การงานระบบอินเตอร์เน็ตมีความรวดเร็ว ช่วยประหยัดเวลาในการทำงาน
1.3 สาย UTP (Unshielded Twisted Pair) คือ
ตอบ สาย UTP (Unshielded Twisted Pair) คือ สายเกรวคู่ที่ไม่มีระบบป้องกันเป็นสายสัญญาณที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบันเป็นสายขนาดเล็กไม่มีชิลต์ห่อหุ้ม เช่น สาย RJ45 หรือ สาย LAN ที่เราใช้กันอยู่ทั่วไปในปัจจุบัน
1.4 มาตรฐาน 802.11g คือ
ตอบ มาตรฐาน 802.11g คือ ข้อกำหนด 802.11g เป็นมาตรฐานสำหรับเครือข่ายไร้สายพื้นที่ (WLAN) ที่เสนอการส่งผ่านในระยะใกล้ได้ถึง 54 Mbps เปรียบเทียบได้กับ ความเร็วสูงสุด 11 Mbps ของมาตรฐาน 802.11b รุ่นก่อนหน้า เครือข่ายให้ 802.11g ทำงานที่ความถี่วิทยุระหว่าง 2.400 GHz ถึง 2.4835 GHz ที่เป็นแถบความถี่เดียวกับ 802.11b แต่ข้อกำหนด 802.11g ใช้ orthogonal frequency division multiplexing (OFDM) เหมือนกับ modulation scheme ที่ใช้ใน 802.11a เพื่อให้ความเร็วข้อมูลสูงกว่า เครื่องคอมพิวเตอร์หรือเทอร์มินอลตั้งค่าสำหรับ 802.11g สามารถตกลงมาสู่ที่ความเร็ว 11 Mbps ส่วนการทำงานนี้ทำให้อุปกรณ์ 802.11b และ 802.11g เข้ากันได้ภายในเครือข่ายเดียวกัน การปรับปรุงจุดเข้าถึง (access point) ของ 802.11b ให้ยอมตาม 802.11g ตามปกติที่เกี่ยวข้องเฉพาะการอัพเกรด firmware
1.5 Firewall คือ
ตอบ Firewall เป็นระบบรักษาความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์แบบหนึ่งที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งมีทั้งอุปกรณ์ Hardware และ Software โดยหน้าที่หลัก ๆ ของ Firewall นั้น จะทำหน้าที่ควบคุมการใช้งานระหว่าง Network ต่าง ๆ (Access Control) โดย Firewall จะเป็นคนที่กำหนด ว่า ใคร (Source) , ไปที่ไหน (Destination) , ด้วยบริการอะไร (Service/Port)
1.6 Cloud Computing คือ
ตอบ Cloud Computing คือ Cloud หรือบางคนก็บอกว่า Cloud Computing มันคืออะไร ค้นในเน็ตเจอคำแปลต่างๆ มากมาย ส่วนใหญ่บอกว่า การประมวลผลบนก้อนเมฆ... ถ้าสำหรับแบบที่ผมคิดนะ ผมว่าก็คือระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์เรานี่แหละ แต่แทนที่จะต้องมาประมวลผล หรือทำงานแบบเดิมคือทำบน PC แบบที่เราเคยใช้ๆกันอยู่มันจะย้ายไปทำงานผ่านพวก WEB Browser บนโลกอินเตอร์เน็ต อาทิเช่น เดิม เราใช้ Microsoft Word, Excel, Power Point โดยเราต้องเปิด PC แล้วรอมัน Windows มันบู๊ต แล้วเราก็เลือกไอคอน โปรแกรม แล้วก็คลิ๊กเปิด แล้วก็ใช้งาน
1.7 ISP (Internet Service Provider) คือ
ตอบ ISP (Internet Service Provider) คือ Internet Service Provider (ISP) เป็นบริษัท ที่ให้เอกชน และบริษัทเข้าถึงอินเตอร์เน็ต และบริการอื่นทีเกี่ยวข้อง เช่น การสร้าง web site และ virtual hosting โดย ISP มีอุปกรณ์และสายการสื่อสาร ที่เข้าถึงโดยต้องการ Point-of-Presence (POP) บนอินเตอร์เน็ต สำหรับการให้บริการ ตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ ISP ขนาดใหญ่มีสาย leased line ความเร็วสูงของตัวเอง เพื่อทำให้ลดการขึ้นต่อผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคม และสามารถให้บริการที่ดีกว่าสำหรับลูกค้า
1.8 Core Layer คือ
ตอบ Core Layer คือ Core Layer ถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางของระบบ network ครับหน้าที่หลักของ Layer นี้คือทำสิ่งที่เรียกว่า Forward Packet โดยตัวมันจะรับ Packet ที่อยู่ใน Layer ต่างๆมาแล้วทำการ Forward ออกไป โดยบนตัวมันจะบรรจุเส้นทางหรือ Routing Table เพื่อที่จะได้ทำการ Forward Packet ไปยัง Network ต่างๆได้อย่างถูกต้อง Core Layer นี้เหมาะสำหรับการออกแบบในระบบ network ที่มีขนาดใหญ่ เช่น มหาวิทยาลัย ถ้าในระบบ network ที่มีขนาดไม่อยากมากเราอาจจะไม่มี Core Layer โดยมีเพียง Distribution Layer กับ Access Layer ก็ได้ครับ
1.9 Star Topology คือ
ตอบ Star Topology คือ การเชื่อมต่อแบบดาว (STAR TOPOLOGY) เป็นการเชื่อมต่อสถานีหรือจุดต่าง ๆ ออกจากคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง หรือคอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่เรียกว่า File Server แต่ละสถานีจะมีสายสัญญาณเชื่อมต่อกับศูนย์กลาง ไม่มีการใช้สายสัญญาณร่วมกัน เมื่อสถานีใดเกิดความเสียหาย จะไม่มีผลกระทบกับสถานีอื่น ๆ ปัจจุบันนิยมใช้อุปกรณ์ Hub เป็นตัวเชื่อมต่อ จากคอมพิวเตอร์แม่ข่าย หรือคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง
ข้้อดี ของการเชื่อมต่อแบบนี้คือ ง่ายต่อการให้บริการ เพราะมีศูนย์กลาง อยู่ที่คอมพิวเตอร์แม่ข่าย อยู่เครื่องเดียว และเมื่อเกิดความเสียหาย ที่คอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นก็จะไม่มีผลกระทบอันใด เพราะใช้สายคนละเส้น
ข้อเสีย คือต้องใช้สายสัญญาณจำนวนมาก เพราะแต่ละสถานี มีสายสัญญาณ ของตนเองเชื่อมต่อกับศูนย์กลาง จึงเหมาะกับเครือข่ายระยะใกล้ มากกว่าการเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล การขยายระบบยุ่งยาก เพราะต้องเชื่อมสายจากศูนย์กลางออกมา ถ้าศูนย์กลางเสียหายระบบจะใช้การไม่ได้
1.10 สถาปัตยกรรม แบบ P2P (Peer to Peer) คือ
ตอบ สถาปัตยกรรม แบบ P2P (Peer to Peer) คือ เครือข่ายแบบนี้จะเก็บไฟล์และการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้แต่ละคน โดยไม่มีคอมพิวเตอร์ส่วนกลางที่ทำหน้าที่นี้ เรียกได้ว่าต่างคนต่างเก็บ ต่างคนต่างใช้ แต่ผู้ใช้ในเครือข่ายสามารถเรียกใช้ไฟล์จากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ ถ้าคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นทำการแชร์ไฟล์เหล่านั้นไว้ เครือข่ายแบบ Peer-to-Peer นี้เหมาะสำหรับองค์กรขนาดเล็กที่มีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกันไม่เกิน 10 เครื่อง เนื่องจากติดตั้งง่าย ราคาไม่แพง และการดูแลไม่ยุ่งยากนัก แต่ถ้าคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมีมากกว่า 10 เครื่องขึ้นไปควรจะใช้เครือข่ายแบบอื่นดีกว่า
2. ให้นักศึกษาอธิบายหลักการในการออกแบบระบบเครือข่ายซึ่งจะต้องคำนึงถึงคุณสมบัติ 4 ประการ มาให้ละเอียดที่สุด ตามความเข้าใจของนักศึกษา (อาจวาดรูปประกอบ) ได้แก่
2.1 Fault Tolerance คือ เป็นความสามารถของระบบที่จะทำงานต่อไปได้ ในสภาวะที่มีความเสียหายเกิดขึ้น เป้าหมายของระบบที่คงทนต่อความเสียหาย คือป้องกันการล้มเหลวของการทำงานของระบบเท่าที่สามารถทำได้ การคงทนต่อความเสียหายสามารถทำได้หลายวิธี ซึ่งจะเป็นได้อย่างชัดเจนว่าการซ่อนความเสียหาย เป็นเทคนิคหนึ่งของการคงทนต่อความเสียหาย วิธีการอื่นได้แก่การตรวจจับข้อผิดพลาด และระบุตำแหน่งความเสียหาย เพื่อทำการจัดรูปการทำงานของระบบใหม่ (Reconfiguration) และนำโมดูลที่เสียหายออกจากระบบ การจัดรูปการทำงานของระบบเป็นขั้นตอนการนำโมดูลที่เสียหายออกจากระบบ และนำระบบกลับมาทำงานอย่างต่อเนื่อง การทำการจัดรูปการทำงานของระบบ ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึงกระบวนการดังต่อไปนี้
1. การตรวจจับความเสียหาย (Fault Detection): เป็นกระบวนการที่ตรวจจับว่ามีความเสียหายเกิดขึ้นหรือไม่ ซึ่งการตรวจจับความเสียหายมักเป็นความต้องการแรก ก่อนที่จะดำเนินการตามขั้นตอนอื่นต่อไป
2. การระบุตำแหน่งความเสียหาย (Fault Location): เป็นกระบวนการสำหรับหาว่าระบบมีความเสียหายที่จุดไหน เพื่อที่จะสามารถดำเนินการกู้คืนได้ถูกต้อง
3. การจำกัดเขตความเสียหาย (Fault Containment): เป็นกระบวนการเพื่อแยกหรือกันความเสียหายออกจากการทำงานของระบบ เพื่อไม่ให้ความเสียหายดังกล่าวส่งผลกระทบต่อส่วนอื่นของระบบ หรือแพร่กระจายไปทั้งระบบ การจำกัดเขตความเสียหายเป็นส่วนสำคัญที่ขาดไม่ได้ของระบบที่คงทนต่อความเสียหายทุกระบบ
4. การกู้คืนจากความเสียหาย (Fault Recovery): เป็นกระบวนการที่ทำให้ระบบสามารถทำงานได้ต่อเนื่อง หรือกลับมาทำงานได้ ระหว่างการจัดรูปแบบการทำงาน เมื่อเกิดความเสียหายขึ้น
2.2 Scalability คือ ความสามารถในการรองรับและต่อขยายระบบ SCADA กับส่วนต่าง ๆ เช่น I/O ของอุปกรณ์Controller และจำนนเครื่อง SCADA Client ที่เพิ่มขึ้น หรือการต่อพ่วงกับระบบ SCADA ของยี่ห้ออื่น ๆ เป็นต้น ถ้าหากData Server เป็นแบบ Driver ที่สร้างด้วยเทคโนโลยีเฉพาะในการติดต่อกับอุปกรณ์ ก็เป็นเรื่องลำบากในการต่อขยาย เพราะDriver บางประเภทสามารถติดต่อได้เฉพาะ SCADA Software บางยี่ห้อเท่านั้น ปัญหานี้เป็นที่วิพากวิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง ซึ่งปัจจุบันได้หันมาใช้มาตรฐานกลางคือ OPC เพื่อแก้ไขปัญหานี้
2.3 Quality of Service คือ คุณภาพการบริการ (Quality of Service: QoS) การควบคุมพฤติกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องของระบบเพื่อให้บริการที่มีคุณภาพเช่น มีการรับประกันเวลาที่ใช้ในการส่งข้อมูล การสูญหายของข้อมูลและคุณภาพของสัญญาณตามที่ได้กำหนดไว้ เป็นต้น
2.4 Security คือ มีเป้าหมายหลักคือ 3 อย่าง
1. Comfidentiality ข้อมูลต้องเป็นความลับ
User authentication สิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูล
Data encryption การปกป้องข้อมูลให้ถูกต้องและสมบูรณ์
2. Maintain Communication integrity through use of การปกป้องข้อมูลให้ถูกต้องและสมบูรณ์
Digital Signatures
3. Ensure availability through use of ทำให้ระบบพร้อมใช้งานเสมอ
Firewalls ป้องกันผู้บุกรุกภายในระบบ
Redundant network architecture ต้องมีระบบสำรองในการเกิดปัญหา
Hardware without a single point of failure ต้องมี Hardware มากกว่า 1 หรือไม่ยึดติดกับพื้นที่เดียว
3. ให้นักศึกษาอธิบายมาตรฐาน OSI 7 Layer แต่ละชั้นเรียกว่าอะไรและมีหน้าที่อะไร (อาจวาดรูปประกอบ)
ตอบ 1. เลเยอร์ชั้น Physical เป็นชั้นล่างที่สุดของการติดต่อสื่อสาร ทำหน้าที่ส่ง-รับข้อมูลจริง ๆ จาก
ช่องทางการสื่อสาร (สื่อกลาง) ระหว่างคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ มาตรฐานสำหรับ เลเยอร์ ชั้นนี้จะกำหนดว่าแต่ละคอนเนคเตอร์ (Connector) เช่น RS-232-C มีกี่พิน(pin) แต่ละพินทำหน้า ที่อะไรบ้าง ใช้สัญญาณไฟกี่โวลต์ เทคนิคการมัลติเพล็กซ์แบบต่างๆ ก็จะถูกกำหนดอยู่ในเลเยอร์ชั้นนี้
2. เลเยอร์ชั้น Data Link จะเป็นเสมือนผู้ตรวจสอบ หรือควบคุมความผิดพลาดในข้อมูลโดยจะ
แบ่งข้อมูลที่จะส่งออกเป็นแพ็กเกจหรือเฟรม ถ้าผู้รับได้รับข้อมูลถูกต้องก็จะส่งสัญญาณยืนยันกลับมาว่า ได้รับ ข้อมูลแล้ว เรียกว่า สัญญาณ ACK (Acknowledge) ให้กับผู้ส่ง แต่ถ้าผู้ส่งไม่ได้รับสัญญาณ ACK หรือได้รับ สัญญาณ NAK (Negative Acknowledge) กลับมา ผู้ส่งก็อาจจะทำการส่งข้อมุลไปให้ใหม่ อีกหน้าที่หนึ่ง ของเลเยอร์ชั้นนี้คือป้องกันไม่ให้เครื่องส่งทำการส่งข้อมูลเร็วจนเกินขีดความสามารถของเครืองผู้รับจะรับข้อ มูลได้
3. เลเยอร์ Network เป็นชั้นที่ออกแบบหรือกำหนดเส้นทางการเดินทางของข้อมูลที่จะส่ง-รับใน
การส่งผ่านข้อมูลระหว่างต้นทางและปลายทาง ซึ่งแน่นอนว่าในการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายการสื่อสารจะ ต้องมีเส้นทางการส่ง-รับข้อมูลมากกว่า 1 เส้นทาง ดังนั้นเลเยอร์ชั้น Network นี้จะทำหน้าที่เลือกเส้นทางที่ ใช้เวลาในการสื่อสารน้อยที่สุด และระยะทางสั้นที่สุดด้วย ข่าวสารที่รับมาจากเลเยอร์ชั้นที่ 4 จะถูกแบ่งออกเป็น แพ็กเกจ ๆ ในชั้นนี้
4. เลเยอร์ Transport บางครั้งเรียกว่า เลเยอร์ชั้น Host-to-Host หรือเครื่องต่อเครื่อง และจาก
เลเยอร์ชั้นที่ 4 ถึงชั้นที่ 7 นี้รวมกันจะเรียกว่า เลเยอร์ End-to-End ในเลเยอร์ชั้น Transport นี้เป็นการ สื่อสารกันระหว่างต้นทางและปลายทาง (คอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์) กันจริง ๆ เลเยอร์ชั้น Transpot จะ ทำหน้าที่ตรวจสอบว่าข้อมูลที่ส่งมาจากเลเยอร์ชั้น Session นั้นไปถึงปลายทางจริง ๆ หรือไม่ ดังนั้นการกำ หนดตำแหน่งของข้อมูล(address) จึงเป็นเรื่องสำคัญในชั้นนี้ เนื่องจากจะต้องรู้ว่าใครคือผู้ส่ง และใครคือผู้รับ ข้อมูลนั้น
5. เลเยอร์ Session ทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ โดยผู้ใช้จะใช้
คำสั่งหรือข้อความที่กำหนดไว้ป้อนเข้าไปในระบบ ในการสร้างการเชื่อมโยงนี้ผู้ใช้จะต้องกำหนดรหัสตำแหน่ง ของจุดหมายปลายทางที่ต้องมีการติดต่อสื่อสารด้วย เลเยอร์ชั้น Session จะส่งข้อมูลทั้งหมดให้กับเลเยอร์ชั้น Transport เป็นผู้จัดการต่อไป ในเครือข่ายทั้งเลเยอร์ Session และเลเยอร์ Transport อาจจะเป็นเลเยอร์ ชั้นเดียวกัน
6. เลเยอร์ Presentation ทำหน้าที่เหมือนบรรณารักษ์ กล่าวคือคอยรวบรวมข้อความ (Text) และ
แปลงรหัส หรือแปลงรูปแบบของข้อมูลให้เป็นรูปแบบการสื่อสารเดียวกัน เพื่อช่วยลดปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะเกิด ขึ้นกันผุ้ใช้งานในระบบ
7. เลเยอร์ Application เป็นเลเยอรชั้นบนสุดของรูปแบบ OSI ซึ่งเป็นชั้นที่ใช้ติดต่อระหว่างผู้ใช้
โดยตรงซึ่งได้แก่ โฮสต์คอมพิวเตอร์ เทอร์มินัลหรือคอมพิวเตอร์ PC เป็นต้น แอปพลิเคชันในเลเยอรชั้นนี้ สามารถนำเข้า หรือออกจากระบบเครือข่ายได้โดยไม่จำเป็นต้องสนใจว่ามีขั้นตอนการทำงานอย่างไร เพราะจะ มีเลเยอร์ชั้น Presentation โดยตรงเท่านั้น
4. ให้นักศึกษากล่าวถึงประโยชน์ของระบบเครือข่ายและการสื่อสารข้อมูลมาอย่างน้อย 5 ข้อ
ตอบ 1. สามารถแชร์ข้อมูลใช้ร่วมกันได้ ข้อมูลต่างๆในแต่ละเครื่องภายในระบบ หากมีผู้อื่นต้องการใช้ คุณสามารถแชร์ให้ผู้อื่นนำไปใช้ได้ หรือข้อมูลที่เป็นส่วนรวมก็สามารถแชร์ไว้เพื่อให้หลายๆฝ่ายนำไปใช้งานได้ ซึ่งก็จะช่วยทำให้ประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บและช่วยให้การปรับปรุงข้อมูลในระบบง่ายขึ้นและไม่เกิดความขัดแย้งของข้อมูลด้วย เพราะข้อมูลมีอยู่ชุดเดียว
2. สามารถแชร์อุปกรณ์ต่างๆร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ สแกนเนอร์ ซิปไดร์ฟ เป็นต้น โดยที่ไม่จำเป็นต้องซื้ออุปกรณ์เหล่านั้นมาติดตั้งกับทุกๆเครื่อง เช่นในบ้านคุณมีเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด 4 เครื่อง อาจจะซื้อเครื่องพิมพ์มาเพียงตัวเดียวและแชร์เครื่องพิมพ์นั้นเพื่อใช้ร่วมกันได้
3. สามารถใช้โปรแกรมร่วมกันหลายๆเครื่องได้ เช่น ในห้อง LAB คอมพิวเตอร์ที่มีจำนวน คอมพิวเตอร์ที่มีจำนวนเครื่องในระบบจำนวน 30 เครื่อง คุณสามารถซื้อโปรแกรมเพียงแค่ 1 ชุดและสามารถใช้งานร่วมกันได้ ซึ่งจะทำให้สะดวกในการดูแลรักษาด้วย
4. การสื่อสารในระบบเครือข่ายผู้ใช้สามารถเชื่อมกับเครื่องอื่นๆในระบบได้ เช่น อาจจะส่งข้อความจากเครื่องของคุณไปยังเครื่องของคนอื่นๆได้ นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้ E - Mail ส่งข้อความข่าวสารต่างๆภายในสำนักงานได้อีก เช่น แจ้งกำหนดการต่างๆแจ้งข้อมูลต่างๆให้ทุกๆคนทราบ โดยไม่ต้องพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์เพื่อแจกจ่าย ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกทางหนึ่ง
5. การแชร์อินเทอร์เน็ต ภายในระบบเครือข่ายคุณสามารถแชร์อินเตอร์เน็ตเพื่อใช้ร่วมกันได้ โดยที่คุณไม่จำเป้นต้องซื้อ Internet Account สำหรับทุกๆเครื่องและไม่จำเป็นต้องติดตั้งโมเด็มทุกเครื่อง ซึ่งก็จะช่วยให้คุณประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก
6. เพื่อการเรียนรู้ การที่คุณได้ทดลองใช้งานระบบเครือข่ายจะทำให้คุณสามารถเรียนรู้และคุ้นเคยกับระบบเครือข่ายมากขึ้น
ทำให้คุณมีประสบการณ์ในระบบเครือข่ายมากขึ้นและจะทำให้คุณรู้สึกว่ามันไม่ใช่เรื่องยากเลย
วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2556
การบ้านหาคำศัพท์ Network ครั้งที่ 10 นายเอกชัย ไชยวิทย์ รหัสนักศึกษา 2561051542304
คำศัพท์เกี่ยวกับระบบ Network
1. echo สะท้อน, เมื่อติดต่อผ่านทางโมเด็ม จะมีการแสดงตัวอักขระที่ป้อนเข้าไปออกมายังหน้าจอคอมพิวเตอร์ ถ้าเราไม่เห็นว่าป้อนอะไรเข้าไป ถือว่าไม่มีการแสดงตัวอักขระ ถ้าเราเห็นคำซ้ำๆ ปรากฏออกมา
คำสั่ง Echo ในดอสและโอเอส/ทู ใช้แสดงผลแต่ละบรรทัดในแฟ้มแบตช์ออกมาบนจอภาพขณะทำงาน การป้อนคำสั่ง ECHO OFF ในแฟ้มแบตช์จะทำให้คอมพิวเตอร์ไม่แสดงผลคำสั่งบนจอภาพ แม้ว่าคอมพิวเตอร์จะแสดงผลออกมา
2. Data: Analog :คือ จะมีลักษณะที่ต่อเนื่องกัน เช่น เสียงพูดของมนุษย์ เสียงดนตรี วีดีโอ เป็นต้น
Digital: คือ จะมีลักษณะที่ไม่ต่อเนื่องกัน ส่วนของข้อมูลดิจิตอลจะประกอบด้วยเลขฐาน2
3. Signal: Analog : เป็นสัญญาณที่มีลักษณะเป็นรูปคลื่นที่มีลักษณะต่อเนื่อง
Digital: เป็นสัญญาณแบบไม่ต่อเนื่องที่อยู่ในรูปแบบของระดับแรงดันไฟฟ้าที่เป็นรูปคลื่นสี่เหลี่ยม
4. Digital Data-->Signal Options การแปลงข้อมูลดิจิตอลให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก Digital Data to Analog Signal สำหรับการแปลงข้อมูลดิจิตอลให้เป็นสัญญาณแอนะล็อกจะใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า โมเด็ม ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์(ดิจิตอล) บนระบบการสื่อสารแบบแอนะล็อกในขณะที่โมเด็มปลายทางก็สามารถแปลงสัญญาณแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิตอลเพื่อส่งให้กับคอมพิวเตอร์เพื่อนำไปใช้งานต่อไป การแปลงข้อมูลดิจิตอลให้เป็นสัญญาณดิจิตอล Digital Data to Digital Signal จะมีเทคนิควิธีการเข้ารหัสสัญญาณดิจิตอลหลายวิธีด้วยกัน เช่น
-NRZ-L จัดเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการส่งสัญญาณดิจิตอลโดยใช้ระดับแรงดัน มีข้อเสีย ตรงที่ยากต่อการตัดสินใจว่าจุดใดเป็นจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดของช่วงสัญญาณ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสำคัญทีเดียวสำหรับการนำไปซิงโครไนซ์
-NRZ-I จะคล้ายกับเทคนิค NRZ-L แต่มีความแม่นยำกว่าตรงที่มีการเปรียบเทียบระดับสัญญาณ
-Manchester ใช้สำหรับเครือข่ายท้องถิ่น โดยการเข้ารหัสแบบแมนเชสเตอร์นั้น จะมีการเปลี่ยนแปลงที่จุดกึ่งกลางของต่ละช่วงบิต เพื่อใช้แทนบิตข้อมูลและกำหนดจังหวะ
-Differential Manchester .ใช้งานบนเครือข่ายโทเค็นริงจะพิจารณาจากช่วงกลางบิตเพื่อใช้สำหรับกำหนดจังหวะClocking เท่านั้น
5. Analog Data-->Signal Options การแปลงข้อมูลแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก Analog Data to Analog Signal
จัดเป็นรูปแบบที่ง่าย มีต้นทุนต่ำ โดยจะแทนข้อมูลแอนะล็อกด้วยสัญญาณแอนะล็อก เช่น ระบบวิทยุกระจายเสียง
การแปลงข้อมูลแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิตอล Analog Data to Digital Signal
จะใช้อุปกรณ์ที่ชื่อว่า โคเดค CODEC จัดเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ใช้สำหรับแปลงข้อมูลแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิตอลด้วยการใช้เทคนิค Voice Digitization ตัวอย่างอุปกรณ์ โคเดค เช่น ซาวน์การ์ด สแกนเนอร์ วอยซ์เมล และวีดีโอคอนเฟอเร็นซ์
6. Parity Checks เป็นเทคนิคการตรวจจับข้อผิดพลาดอย่างง่าย และเก่าแก่ โดยเพิ่มบิตเข้าไปในแต่ละหนึ่งตัวอักษร ซึ่งเป็นบิตที่ตรวจสอบความถูกต้อง มี 2 กรณี คือ even parity และ odd parity
7. Cyclic Redundancy Checksum เป็นวิธีที่นิยมใช้บนเครือข่ายท้องถิ่นและจัดได้ว่าเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าวิธีการใช้รหัสตรวจสอบและหาผลรวม เนื่องจากสามารถตรวจจับข้อผิดพลาดได้มากถึง99.9999% นิยมใช้บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
8. Polynomial Checking เป็นการใช้รหัสโพลีนอเมียล ซึ่งต้องมีคุณสมบัติโดยบิตซ้ายสุดและบิตขวาสุดต้องมีค่าเป็น 1 เสมอ
9. Attenuation (dB) คือ ค่าสัญญาณรบกวนภายในสาย ไม่ควรจะเกิน 50dB ทั้ง local และ remote (ยิ่งน้อยยิ่งดี)
10. SNR Margin (dB) คือ ค่าความเข้มของสัญญาณ ไม่ควรจะต่ำกว่า 10dB ทั้ง local และ remote (ยิ่งมากยิ่งดี)
การบ้านหาคำศัพท์ Network ครั้งที่ 9 นายเอกชัย ไชยวิทย์ รหัสนักศึกษา 2561051542304
คำศัพท์เกี่ยวกับระบบ Network
1. ระบบเครือข่ายแบบเบสแบนด์ (Baseband) จะเป็นการสื่อสารข้อมูลที่สายสัญญาณหรือตัวกลางในการส่งผ่านสัญญาณสามารถส่งได้เพียงหนึ่งสัญญาณในเวลาขณะใดขณะหนึ่งเท่านั้น นั่นคือ อุปกรณ์ที่ใช้งานสายสัญญาณในขณะนั้นจะครอบครองช่องสัญญาณทั้งหมดโดยอุปกรณ์อื่นจะไม่สามารถร่วมใช้งานได้เลย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ระบบโทรศัพท์ เป็นต้น ซึ่งการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ส่วนมากจะเป็นการสื่อสารแบบ Baseband รวมทั้งการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์อื่น ๆ(เช่น เครื่องพิมพ์ จอภาพ) การสื่อสารผ่าน modems และการสื่อสารผ่านเครือข่ายหลักๆ ด้วย ยกเว้นเครือข่ายแบบ B-ISDN ที่เป็นแบบ Broadband
2. ระบบเครือข่ายแบบบรอดแบนด์ (Broadband) จะตรงข้ามกับ Baseband นั่นคือ จะเป็นการสื่อสารข้อมูลที่ตัวกลางในการส่งผ่านสัญญาณสามารถมีหลายช่องสัญญาณได้พร้อม ๆ กันโดยใช้วิธีแบ่งช่องความถี่ออกจากกัน ทำให้อุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถสื่อสารกันโดยใช้ช่องความถี่ของตนเองผ่านตัวกลางเดียว ตัวอย่างเช่น ระบบเครือข่าย Cable TV ซึ่งสามารถส่งสัญญาณมาพร้อมกันหลาย ๆ ช่องบนสายสื่อสารเส้นเดียว และผู้รับก็สามารถเลือกช่องความถี่ที่ต้องการชมได้ เป็นต้น
3. มัลติเพล็กซ์เซอร์ (Multiplexer : MUX) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ตัวเลือกข้อมูล(Data Selector) ซึ่งเป็นตัวที่ทำหน้าที่เลือกช่องสัญญาณที่มีข้อมูลช่องหนึ่งจากหลายๆช่องสัญญาณมาเป็นอินพุตและต่อช่องสัญญาณที่มีข้อมูลนั้นเข้าเป็นสัญญาณเอาต์พุตเพียงเอาต์พุตเดียว
การมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งเวลา (Time Division Multiplexer หรือ TDM) เป็นวิธีที่เพิ่งจะได้รับการพัฒนาขึ้นมาได้ไม่นานนักการมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งเวลาจะใช้เส้นทางเพียงเส้นทางเดียวและคลื่นพาห์ความถี่เดียวเท่านั้นแต่ ผู้ใช้แต่ละคนนั้นจะได้รับการจัดสรรเวลาในการเข้าใช้ช่องสัญญาณที่ต้องการนั้นเพื่อส่งข้อมูลไปยังปลายทางที่ตนต้องการ
การมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งความถี่ (Frequency Division Multiplexer หรือ FDM) เป็นวิธีที่ใช้กันทั้งระบบที่มีสายและระบบคลื่นวิทยุ ซึ่งหลักการของการมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งความถี่นี้คือ การนำสัญญาณจากแหล่งต่างๆมารวมกัน ให้อยู่ในคลื่นพาห์เดียวกันที่ความถี่ต่างๆ และสัญญาณเหล่านี้สามารถที่จะใช้เส้นทางร่วมกันได้ซึ่งต่างจากแบบแรกที่ไม่สามารถใช้ร่วมกันได้
4. Noise เป็นสิ่งไม่ต้องการของพลังงานไฟฟ้า และแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งจะลดคุณภาพของสัญญาณและข้อมูล noise ปรากฏในระบบดิจิตอล และอะนาล๊อก และสามารถมีผลกับไฟล์และการสื่อสารของไฟล์ทั้งหมด รวมถึงข้อความ โปรแกรม ภาพ และเสียงเป็นต้น ในวงจรสายแข็ง เช่น โทรศัพท์อินเตอร์เน็ตแบบใช้สาย external noise เป็นผลจากเครื่องใช้ในตำแหน่งใกล้เคียง, จากทรานส์ฟอร์มเมอร์, จากบรรยากาศ โดยปกติ noise ชนิดนี้มีผลเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีอย่างไรก็ตามในระยะพายุฟ้าคะนอง หรือในตำแหน่ง ที่มีอุปกรณ์ไฟฟ้าจำนวนมากกำลังใช้งาน external noise มีผลกับการสื่อสาร ในการติดต่อทางอินเตอร์เน็ต external noise จะทำให้อัตราการส่งข้อมูลช้าลง เพราะระบบต้องปรับความเร็วให้ตรงกับเงื่อนไขบนสาย การสนทนาทางโทรศัพท์ noise จะเป็นเสียงรบกวน noise เป็นปัญหาสำคัญในระบบไร้สายมากกว่าระบบสาย โดยทั่วไป จุดเริ่มต้นของ noise จากภายนอก ที่แปลงตามสัดส่วนความถี่ และสัดส่วนโดยตรงกับความยาวคลื่น ที่ความถี่ต่ำ เช่น 300 kHz noise จากบรรยากาศและไฟฟ้า จะมากกว่าที่ความถี่สูง เช่น 300 MHz ส่วน noise ที่เกิดภายในตัวรับไร้สาย เรียกว่า internal noise จะขึ้นต่อความถี่น้อย วิศวกรมีความเกี่ยวข้องกับ internal noise ที่ความถี่สูงมากกว่าที่ความถี่ต่ำ เพราะถ้า external noise ลดลง internal noise จะมีความสำคัญมากขึ้นวิศวกรการสื่อสาร มีการพัฒนาในทางที่ดีกว่าในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ noise วิธีการดั้งเดิมในการลดสัญญาณ bandwidth เพื่อการขยายระยะมากขึ้น การลดสเปคทรัม ของสัญญาณที่ใช้งาน จะลด noise ที่ผ่านไปยังวงจรลับ อย่างไรก็ตาม การลด bandwidth จำกัดความเร็วสูงสุดของข้อมูลในการส่ง การพัฒนาแบบแผนในทางผลกระทบของ noise เรียกว่า digital signal processing การใช้ fiber optics เทคโนโลยีที่ไม่ไวต่อ noise
5. Packet Lost โดยการวัดจากเปอร์เซ็นต์ของแพ็กเก็ตที่ไม่ถึงจุดหมายปลายทาง หากสูงกว่า 3% ถือว่าเครือข่ายนั้นไม่เหมาะสมกับการใช้งาน VoIP เนื่องจากอาจจะมีปัญหาสัญญาณเสียงขาดตอน ซึ่งปัญหา packet loss นี้ จะเพิ่มมากขึ้นตามลักษณะการใช้งานของระบบเครือข่ายที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะจุดที่มีการ overload ของสัญญาณ
6. Jitter คือประเด็นด้านคุณภาพของระบบเครือข่ายที่วัดจากความแปรปรวนของเวลาที่ใช้ในการเดินทางของแพ็กเก็ตที่เป็นสัญญาณเสียง (Voice Information Packet) ซึ่งอุปกรณ์ VoIP ที่ฝั่งผู้รับสามารถบรรเทาปัญหานี้ ได้ด้วยการจัดให้แพ็กเก็ตที่ได้รับมารวมตัวกันอยู่ใน jitter buffer ก่อนแปลงเป็นสัญญาณเสียงที่ไม่มีการสะดุดหรือขาดตอน Jitter Buffer มีค่าความยาวเป็นมิลลิวินาที (Millisecond) หรือที่เรียกว่า Jitter Buffer Depth ซึ่งควรมีค่าประมาณ 2 เท่าของขนาดของความแปรปรวนของระยะเวลาในการเดินทางของแพ็กเก็ตหรือ jitter ที่เกิดขึ้นจริงในระบบเครือข่าย หากค่า jitter มากกว่า 50 มิลลิวินาทีแล้ว จะเป็นการยากที่จะได้สัญญาณเสียงที่ราบเรียบ อีกทั้งการใช้ jitter buffer บ่อยครั้ง ก็จะยังผลให้เกิดอาการสัญญาณเสียงขาดหายเป็นช่วง ๆ ดังนั้นการปรับตั้งค่า Jitter Buffer Depth จึงต้องมีความเหมาะสมกับลักษณะของระบบเครือข่ายด้วย
7. Latency คือระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทางของแพ็กเก็ตจากต้นทางไปยังปลายทาง หากใช้เวลามากกว่า 150-200 มิลลิวินาที อาจเป็นปัญหาสำหรับอุปกรณ์ VoIP ได้ในรูปของเสียงสะท้อนหรือเสียงก้อง และหากมีค่ามากกว่า 400 มิลลิวินาทีอาจมีผลกระทบต่อความชัดเจนของเสียงสนทนา แต่ทั้งนี้หากการสื่อสารของทั้งระบบเป็นอุปกรณ์แบบดิจิตอลทั้งหมด ปัญหาเรื่องเสียงก้องหรือเสียงสะท้อนก็จะน้อยมาก
8. Raw Bandwidth เป็นสิ่งที่ผู้ใช้บริการระบบเครือข่ายคุ้นเคยกันดี เนื่องจากเป็นค่าที่แสดงถึงปริมาณข้อมูลที่ระบบเครือข่ายสามารถรองรับได้ต่อการเชื่อมต่อแต่ละจุด เช่น หากมีเครือข่าย T1 ที่ใช้สำหรับเครือข่ายข้อมูลโดยเฉพาะ นั่นหมายถึงขนาดของ Raw Bandwidth คือ 1.5 Mbits การเชื่อมต่อแบบ DSL (Digital Subscriber Line) ในบางครั้งก็มีข้อจำกัดในเรื่องของ bandwidth ขารับ (download) และขาส่ง (upload) มีค่าไม่เท่ากัน ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่ความเร็วในการ download 768 Kbits และความเร็วในการ upload 128 Kbits ซึ่งผู้ให้บริการระบบเครือข่ายสามารถบอกได้ถึงขนาดของ bandwidth ที่เพียงพอหรือเหมาะสมสำหรับการใช้งานแบบ voice application
9. คอขวด หรือ Bottleneck เป็นสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในกรณีที่ผู้รับและผู้ส่งมีขนาดของ available bandwidth ไม่เท่ากัน เช่นการเชื่อมต่อที่ฝั่งต้นทางใช้แบบ T1 แต่การเชื่อมต่อของฝั่งปลายทางใช้แบบ Dial Up ที่ความเร็ว 53 Kbps
10. Codecs ก่อนที่จะทราบว่าระบบเครือข่ายที่มีอยู่จะสามารถรองรับข้อมูลสัญญาณเสียงได้หรือไม่นั้น จะต้องทราบปริมาณของข้อมูลสัญญาณเสียงที่ต้องการใช้งานก่อน โดยสามารถประมาณการณ์ได้จากการนับจำนวนการใช้โทรศัพท์ที่จะใช้ผ่านระบบเครือข่าย คูณด้วยปริมาณของการจราจรทางระบบเครือข่ายต่อการโทรหนึ่งครั้ง หรือที่เรียกว่า traffic-per-call ที่ขึ้นอยู่กับ codec ที่ใช้ โดยที่ codec หมายถึงวิธีการเข้ารหัสสัญญาณเสียงให้กลายเป็นข้อมูลที่สามารถส่งผ่านทางระบบเครือข่ายได้ ดังแสดงในตาราง
จากตารางข้างต้นจะเห็นได้ว่า Codec G.711 ให้คุณภาพเสียงเช่นเดียวกันกับคุณภาพเสียงที่ได้จากระบบโทรศัพท์ทั่วไป แต่ต้องใช้ available bandwidth ถึงประมาณ 80 Kbps ต่อการใช้โทรศัพท์หนึ่งครั้ง ส่วน G.729 ให้คุณภาพเสียงที่เป็นรองจาก G.711 แต่ใช้ available bandwidth เพียงประมาณ 26 Kbps เท่านั้น ต่อการใช้โทรศัพท์ในแต่ละครั้ง
วันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2556
การบ้านหาคำศัพท์ Network ครั้งที่ 8 นายเอกชัย ไชยวิทย์ รหัสนักศึกษา 2561051542304
คำศัพท์เกี่ยวกับระบบ Network
1. Transmission คือ การโอนถ่าย หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างต้นทางกับปลายทางโดยผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือคอมพิวเตอร์
2. Sender คือ ผู้ส่ง เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งข่าวสาร (Message) เป็นต้นทางของการสื่อสารข้อมูลมีหน้าที่เตรียมสร้างข้อมูล เช่น ผู้พูด โทรทัศน์ กล้องวิดีโอ เป็นต้น
3. DTE (Data Terminal Equipment) คือ แหล่งกำเนิดและรับข้อมูล เช่น คอมพิวเตอร์เทอร์มินัลคอมพิวเตอร์ เมนเฟรม เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
4. DCE (Data Communication Equipment) คือ อุปกรณ์ในการรับ/ส่งข้อมูล เช่น โมเด็ม จานไมโครเวฟ หรือจานดาวเทียม Fibrotic Infrared Wireless เป็นต้น
5. Message คือ สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสาร บางครั้งเรียกว่าสารสนเทศ
(Information) รูปแบบของข่าวสารมี 4 รูปแบบคือ
- เสียง (Voice)
- ข้อมูล (Data)
- ข้อความ (Text)
- ภาพ (Picture)
6. Application Server/ Database Server คือ เป็นการทำงานที่ซับซ้อนกว่า File Server อีกระดับหนึ่ง ตัวอย่างที่เราพบบ่อยๆ คือ Database Server หรือ SQL Server
7. EISA การเชื่อมต่อหรือ อินเตอร์เฟส แบบมาตราฐานของการ์ดต่าง ๆ ปัจจุบันล้าสมัยแล้ว
8. FDD Iเป็นคำย่อมาจาก Fiber Distributed Data Interface หรือระบบต่อเชื่อม กระจายข้อมูล ด้วยใยแก้วนำแสง เป็นเทคโนโลยี ระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) ที่นำพื้นฐาน ของเครือข่าย แบบส่งผ่านโทเค็น มาใช้บน สายเคเบิลใยแก้วนำแสง โดยทั่วไป จะใช้สำหรับระบบเครือข่ายหลัก ขององค์กรขนาดใหญ่
Frame Relayเป็นบริการของ เครือข่ายพื้นที่กว้าง (WAN) ที่เป็นการเชื่อมต่อ แบบปิด-เปิด (on-and-off) ระหว่างสถานที่ ที่อยู่ห่างกัน เป็นระยะทางไกล
9. GUEST BOOK สมุดลงนาม ใช้สำหรับแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ web site นั้น ๆ ที่คุณเข้าไปเยี่ยมชม เป็นช่องทางแสดงความคิดเห็นอย่างหนึ่ง
10. HTTP ย่อมาจาก Hypertext Transfer Protocol ซึ่งเป็นโปรโตคอล ที่คอยควบคุม การส่งเอกสารในรูปแบบต่างๆ บนระบบ อินเทอร์เน็ต
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)