วันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สรุปหลัง Midterm ครับ

สรุปหลัง Midterm

จงตอบคำถามต่อไปนี้

1. อธิบายขยายความคำศัพท์เกี่ยวกับระบบเครือข่ายคอพิวเตอร์ 
****(เขียนตอบข้อละไม่น้อยกว่า 3 บรรทัด หรือวาดรูปประกอบ)***

1.1 การส่งสัญญาณ Multicast คือ

ตอบ การส่งสัญญาณแบบ Multicast คือ การส่งข้อมูลมัลติมีเดียในงานประยุกต์ทั่วไปผ่านเครือข่ายมักเกิดจากแหล่งส่งแหล่งหนึ่งๆทำหน้าที่กระจายข้อมูลไปยังผู้รับหลายคนพร้อมกัน ตัวอย่างเช่นการถ่ายทอดการประชุม การแพร่ข้อมูลพยากรณ์อากาศ หรือข้อมูลล่าสุดในตลาดหุ้น หากสามารถส่งข้อมูลเหล่านี้เพียงครั้งเดียวไปยังผู้รับหลายคนย่อมช่วยประหยัดแบนด์วิดธ์ได้ เทคนิคการส่งแบบนี้เรียกว่าการส่งแบบ มัลติคาสต์ (multicast) ข้อมูลที่เดินทางไปยังปลายทางจะผ่านอุปกรณ์เครือข่ายเพียงชุดเดียวก่อนจะไปถึงผู้รับปลายทาง


1.2 Proxy Server คือ

ตอบ Proxy Server คือ (Cache) เครื่องแม่ข่ายที่ทำหน้าที่เก็บคอนเทนต่างๆ และช่วยลดการใช้แบนด์วิดช์ภายนอก ช่วยทำให้การงานระบบอินเตอร์เน็ตมีความรวดเร็ว ช่วยประหยัดเวลาในการทำงาน



1.3 สาย UTP (Unshielded Twisted Pair) คือ

ตอบ สาย UTP (Unshielded Twisted Pair) คือ สายเกรวคู่ที่ไม่มีระบบป้องกันเป็นสายสัญญาณที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบันเป็นสายขนาดเล็กไม่มีชิลต์ห่อหุ้ม เช่น สาย RJ45 หรือ สาย LAN ที่เราใช้กันอยู่ทั่วไปในปัจจุบัน



1.4 มาตรฐาน 802.11g คือ

ตอบ มาตรฐาน 802.11g คือ  ข้อกำหนด 802.11g เป็นมาตรฐานสำหรับเครือข่ายไร้สายพื้นที่ (WLAN) ที่เสนอการส่งผ่านในระยะใกล้ได้ถึง 54 Mbps เปรียบเทียบได้กับ ความเร็วสูงสุด 11 Mbps ของมาตรฐาน 802.11b รุ่นก่อนหน้า เครือข่ายให้ 802.11g ทำงานที่ความถี่วิทยุระหว่าง 2.400 GHz ถึง 2.4835 GHz ที่เป็นแถบความถี่เดียวกับ 802.11b แต่ข้อกำหนด 802.11g ใช้ orthogonal frequency division multiplexing (OFDM) เหมือนกับ modulation scheme ที่ใช้ใน 802.11a เพื่อให้ความเร็วข้อมูลสูงกว่า เครื่องคอมพิวเตอร์หรือเทอร์มินอลตั้งค่าสำหรับ 802.11g สามารถตกลงมาสู่ที่ความเร็ว 11 Mbps ส่วนการทำงานนี้ทำให้อุปกรณ์ 802.11b และ 802.11g เข้ากันได้ภายในเครือข่ายเดียวกัน การปรับปรุงจุดเข้าถึง (access point) ของ 802.11b ให้ยอมตาม 802.11g ตามปกติที่เกี่ยวข้องเฉพาะการอัพเกรด firmware


1.5 Firewall คือ

ตอบ Firewall เป็นระบบรักษาความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์แบบหนึ่งที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งมีทั้งอุปกรณ์ Hardware และ Software โดยหน้าที่หลัก ๆ ของ Firewall นั้น จะทำหน้าที่ควบคุมการใช้งานระหว่าง Network ต่าง ๆ (Access Control) โดย Firewall จะเป็นคนที่กำหนด ว่า ใคร (Source) , ไปที่ไหน (Destination) , ด้วยบริการอะไร (Service/Port)


1.6 Cloud Computing คือ

ตอบ Cloud Computing คือ Cloud หรือบางคนก็บอกว่า Cloud Computing มันคืออะไร ค้นในเน็ตเจอคำแปลต่างๆ มากมาย ส่วนใหญ่บอกว่า การประมวลผลบนก้อนเมฆ... ถ้าสำหรับแบบที่ผมคิดนะ ผมว่าก็คือระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์เรานี่แหละ แต่แทนที่จะต้องมาประมวลผล หรือทำงานแบบเดิมคือทำบน PC แบบที่เราเคยใช้ๆกันอยู่มันจะย้ายไปทำงานผ่านพวก WEB Browser บนโลกอินเตอร์เน็ต อาทิเช่น เดิม เราใช้ Microsoft Word, Excel, Power Point โดยเราต้องเปิด PC แล้วรอมัน Windows มันบู๊ต แล้วเราก็เลือกไอคอน โปรแกรม แล้วก็คลิ๊กเปิด แล้วก็ใช้งาน 


1.7 ISP (Internet Service Provider) คือ

ตอบ ISP (Internet Service Provider) คือ Internet Service Provider (ISP) เป็นบริษัท ที่ให้เอกชน และบริษัทเข้าถึงอินเตอร์เน็ต และบริการอื่นทีเกี่ยวข้อง เช่น การสร้าง web site และ virtual hosting โดย ISP มีอุปกรณ์และสายการสื่อสาร ที่เข้าถึงโดยต้องการ Point-of-Presence (POP) บนอินเตอร์เน็ต สำหรับการให้บริการ ตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ ISP ขนาดใหญ่มีสาย leased line ความเร็วสูงของตัวเอง เพื่อทำให้ลดการขึ้นต่อผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคม และสามารถให้บริการที่ดีกว่าสำหรับลูกค้า


1.8 Core Layer คือ 

ตอบ Core Layer คือ Core Layer ถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางของระบบ network ครับหน้าที่หลักของ Layer นี้คือทำสิ่งที่เรียกว่า Forward Packet โดยตัวมันจะรับ Packet ที่อยู่ใน Layer ต่างๆมาแล้วทำการ Forward ออกไป โดยบนตัวมันจะบรรจุเส้นทางหรือ Routing Table เพื่อที่จะได้ทำการ Forward Packet ไปยัง Network ต่างๆได้อย่างถูกต้อง  Core Layer นี้เหมาะสำหรับการออกแบบในระบบ network ที่มีขนาดใหญ่ เช่น มหาวิทยาลัย ถ้าในระบบ network ที่มีขนาดไม่อยากมากเราอาจจะไม่มี Core Layer โดยมีเพียง Distribution Layer กับ Access Layer ก็ได้ครับ


1.9 Star Topology คือ 

ตอบ Star Topology คือ การเชื่อมต่อแบบดาว (STAR TOPOLOGY) เป็นการเชื่อมต่อสถานีหรือจุดต่าง ๆ ออกจากคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง หรือคอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่เรียกว่า File Server แต่ละสถานีจะมีสายสัญญาณเชื่อมต่อกับศูนย์กลาง ไม่มีการใช้สายสัญญาณร่วมกัน เมื่อสถานีใดเกิดความเสียหาย จะไม่มีผลกระทบกับสถานีอื่น ๆ ปัจจุบันนิยมใช้อุปกรณ์ Hub เป็นตัวเชื่อมต่อ จากคอมพิวเตอร์แม่ข่าย หรือคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง
       ข้้อดี ของการเชื่อมต่อแบบนี้คือ ง่ายต่อการให้บริการ เพราะมีศูนย์กลาง อยู่ที่คอมพิวเตอร์แม่ข่าย อยู่เครื่องเดียว และเมื่อเกิดความเสียหาย ที่คอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นก็จะไม่มีผลกระทบอันใด เพราะใช้สายคนละเส้น
       ข้อเสีย คือต้องใช้สายสัญญาณจำนวนมาก เพราะแต่ละสถานี มีสายสัญญาณ ของตนเองเชื่อมต่อกับศูนย์กลาง จึงเหมาะกับเครือข่ายระยะใกล้ มากกว่าการเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล การขยายระบบยุ่งยาก เพราะต้องเชื่อมสายจากศูนย์กลางออกมา ถ้าศูนย์กลางเสียหายระบบจะใช้การไม่ได้


1.10 สถาปัตยกรรม แบบ P2P (Peer to Peer) คือ

ตอบ สถาปัตยกรรม แบบ P2P (Peer to Peer) คือ  เครือข่ายแบบนี้จะเก็บไฟล์และการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้แต่ละคน โดยไม่มีคอมพิวเตอร์ส่วนกลางที่ทำหน้าที่นี้ เรียกได้ว่าต่างคนต่างเก็บ ต่างคนต่างใช้ แต่ผู้ใช้ในเครือข่ายสามารถเรียกใช้ไฟล์จากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ ถ้าคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นทำการแชร์ไฟล์เหล่านั้นไว้ เครือข่ายแบบ Peer-to-Peer นี้เหมาะสำหรับองค์กรขนาดเล็กที่มีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกันไม่เกิน 10 เครื่อง เนื่องจากติดตั้งง่าย ราคาไม่แพง และการดูแลไม่ยุ่งยากนัก แต่ถ้าคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมีมากกว่า 10 เครื่องขึ้นไปควรจะใช้เครือข่ายแบบอื่นดีกว่า



2. ให้นักศึกษาอธิบายหลักการในการออกแบบระบบเครือข่ายซึ่งจะต้องคำนึงถึงคุณสมบัติ 4 ประการ มาให้ละเอียดที่สุด ตามความเข้าใจของนักศึกษา (อาจวาดรูปประกอบ) ได้แก่

2.1 Fault Tolerance คือ เป็นความสามารถของระบบที่จะทำงานต่อไปได้ ในสภาวะที่มีความเสียหายเกิดขึ้น เป้าหมายของระบบที่คงทนต่อความเสียหาย คือป้องกันการล้มเหลวของการทำงานของระบบเท่าที่สามารถทำได้ การคงทนต่อความเสียหายสามารถทำได้หลายวิธี ซึ่งจะเป็นได้อย่างชัดเจนว่าการซ่อนความเสียหาย เป็นเทคนิคหนึ่งของการคงทนต่อความเสียหาย วิธีการอื่นได้แก่การตรวจจับข้อผิดพลาด และระบุตำแหน่งความเสียหาย เพื่อทำการจัดรูปการทำงานของระบบใหม่ (Reconfiguration) และนำโมดูลที่เสียหายออกจากระบบ การจัดรูปการทำงานของระบบเป็นขั้นตอนการนำโมดูลที่เสียหายออกจากระบบ และนำระบบกลับมาทำงานอย่างต่อเนื่อง การทำการจัดรูปการทำงานของระบบ ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึงกระบวนการดังต่อไปนี้
                1. การตรวจจับความเสียหาย (Fault Detection): เป็นกระบวนการที่ตรวจจับว่ามีความเสียหายเกิดขึ้นหรือไม่ ซึ่งการตรวจจับความเสียหายมักเป็นความต้องการแรก ก่อนที่จะดำเนินการตามขั้นตอนอื่นต่อไป
                2. การระบุตำแหน่งความเสียหาย (Fault Location): เป็นกระบวนการสำหรับหาว่าระบบมีความเสียหายที่จุดไหน เพื่อที่จะสามารถดำเนินการกู้คืนได้ถูกต้อง
                3. การจำกัดเขตความเสียหาย (Fault Containment): เป็นกระบวนการเพื่อแยกหรือกันความเสียหายออกจากการทำงานของระบบ เพื่อไม่ให้ความเสียหายดังกล่าวส่งผลกระทบต่อส่วนอื่นของระบบ หรือแพร่กระจายไปทั้งระบบ การจำกัดเขตความเสียหายเป็นส่วนสำคัญที่ขาดไม่ได้ของระบบที่คงทนต่อความเสียหายทุกระบบ
               4. การกู้คืนจากความเสียหาย (Fault Recovery): เป็นกระบวนการที่ทำให้ระบบสามารถทำงานได้ต่อเนื่อง หรือกลับมาทำงานได้ ระหว่างการจัดรูปแบบการทำงาน เมื่อเกิดความเสียหายขึ้น


2.2 Scalability คือ ความสามารถในการรองรับและต่อขยายระบบ SCADA กับส่วนต่าง ๆ เช่น I/O ของอุปกรณ์Controller และจำนนเครื่อง SCADA Client ที่เพิ่มขึ้น หรือการต่อพ่วงกับระบบ SCADA ของยี่ห้ออื่น ๆ เป็นต้น ถ้าหากData Server เป็นแบบ Driver ที่สร้างด้วยเทคโนโลยีเฉพาะในการติดต่อกับอุปกรณ์ ก็เป็นเรื่องลำบากในการต่อขยาย เพราะDriver บางประเภทสามารถติดต่อได้เฉพาะ SCADA Software บางยี่ห้อเท่านั้น ปัญหานี้เป็นที่วิพากวิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง ซึ่งปัจจุบันได้หันมาใช้มาตรฐานกลางคือ OPC เพื่อแก้ไขปัญหานี้


2.3 Quality of Service คือ คุณภาพการบริการ (Quality of Service: QoS) การควบคุมพฤติกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องของระบบเพื่อให้บริการที่มีคุณภาพเช่น มีการรับประกันเวลาที่ใช้ในการส่งข้อมูล การสูญหายของข้อมูลและคุณภาพของสัญญาณตามที่ได้กำหนดไว้ เป็นต้น


2.4 Security คือ มีเป้าหมายหลักคือ 3 อย่าง
         1. Comfidentiality ข้อมูลต้องเป็นความลับ
                     User authentication สิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูล
                     Data encryption การปกป้องข้อมูลให้ถูกต้องและสมบูรณ์
         2. Maintain Communication integrity through use of การปกป้องข้อมูลให้ถูกต้องและสมบูรณ์
                     Digital Signatures
         3. Ensure availability through use of ทำให้ระบบพร้อมใช้งานเสมอ
                     Firewalls ป้องกันผู้บุกรุกภายในระบบ
                     Redundant network architecture ต้องมีระบบสำรองในการเกิดปัญหา
                     Hardware without a single point of failure ต้องมี Hardware มากกว่า 1 หรือไม่ยึดติดกับพื้นที่เดียว


3. ให้นักศึกษาอธิบายมาตรฐาน OSI 7 Layer แต่ละชั้นเรียกว่าอะไรและมีหน้าที่อะไร (อาจวาดรูปประกอบ)

ตอบ 1. เลเยอร์ชั้น Physical เป็นชั้นล่างที่สุดของการติดต่อสื่อสาร ทำหน้าที่ส่ง-รับข้อมูลจริง ๆ จาก
ช่องทางการสื่อสาร (สื่อกลาง) ระหว่างคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ มาตรฐานสำหรับ เลเยอร์ ชั้นนี้จะกำหนดว่าแต่ละคอนเนคเตอร์ (Connector) เช่น RS-232-C มีกี่พิน(pin) แต่ละพินทำหน้า ที่อะไรบ้าง ใช้สัญญาณไฟกี่โวลต์ เทคนิคการมัลติเพล็กซ์แบบต่างๆ ก็จะถูกกำหนดอยู่ในเลเยอร์ชั้นนี้
  2. เลเยอร์ชั้น Data Link จะเป็นเสมือนผู้ตรวจสอบ หรือควบคุมความผิดพลาดในข้อมูลโดยจะ
แบ่งข้อมูลที่จะส่งออกเป็นแพ็กเกจหรือเฟรม ถ้าผู้รับได้รับข้อมูลถูกต้องก็จะส่งสัญญาณยืนยันกลับมาว่า ได้รับ ข้อมูลแล้ว เรียกว่า สัญญาณ ACK (Acknowledge) ให้กับผู้ส่ง แต่ถ้าผู้ส่งไม่ได้รับสัญญาณ ACK หรือได้รับ สัญญาณ NAK (Negative Acknowledge) กลับมา ผู้ส่งก็อาจจะทำการส่งข้อมุลไปให้ใหม่ อีกหน้าที่หนึ่ง ของเลเยอร์ชั้นนี้คือป้องกันไม่ให้เครื่องส่งทำการส่งข้อมูลเร็วจนเกินขีดความสามารถของเครืองผู้รับจะรับข้อ มูลได้
  3. เลเยอร์ Network เป็นชั้นที่ออกแบบหรือกำหนดเส้นทางการเดินทางของข้อมูลที่จะส่ง-รับใน
การส่งผ่านข้อมูลระหว่างต้นทางและปลายทาง ซึ่งแน่นอนว่าในการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายการสื่อสารจะ ต้องมีเส้นทางการส่ง-รับข้อมูลมากกว่า 1 เส้นทาง ดังนั้นเลเยอร์ชั้น Network นี้จะทำหน้าที่เลือกเส้นทางที่ ใช้เวลาในการสื่อสารน้อยที่สุด และระยะทางสั้นที่สุดด้วย ข่าวสารที่รับมาจากเลเยอร์ชั้นที่ 4 จะถูกแบ่งออกเป็น แพ็กเกจ ๆ ในชั้นนี้
  4. เลเยอร์ Transport บางครั้งเรียกว่า เลเยอร์ชั้น Host-to-Host หรือเครื่องต่อเครื่อง และจาก
เลเยอร์ชั้นที่ 4 ถึงชั้นที่ 7 นี้รวมกันจะเรียกว่า เลเยอร์ End-to-End ในเลเยอร์ชั้น Transport นี้เป็นการ สื่อสารกันระหว่างต้นทางและปลายทาง (คอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์) กันจริง ๆ เลเยอร์ชั้น Transpot จะ ทำหน้าที่ตรวจสอบว่าข้อมูลที่ส่งมาจากเลเยอร์ชั้น Session นั้นไปถึงปลายทางจริง ๆ หรือไม่ ดังนั้นการกำ หนดตำแหน่งของข้อมูล(address) จึงเป็นเรื่องสำคัญในชั้นนี้ เนื่องจากจะต้องรู้ว่าใครคือผู้ส่ง และใครคือผู้รับ ข้อมูลนั้น
  5. เลเยอร์ Session ทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ โดยผู้ใช้จะใช้
คำสั่งหรือข้อความที่กำหนดไว้ป้อนเข้าไปในระบบ ในการสร้างการเชื่อมโยงนี้ผู้ใช้จะต้องกำหนดรหัสตำแหน่ง ของจุดหมายปลายทางที่ต้องมีการติดต่อสื่อสารด้วย เลเยอร์ชั้น Session จะส่งข้อมูลทั้งหมดให้กับเลเยอร์ชั้น Transport เป็นผู้จัดการต่อไป ในเครือข่ายทั้งเลเยอร์ Session และเลเยอร์ Transport อาจจะเป็นเลเยอร์ ชั้นเดียวกัน
  6. เลเยอร์ Presentation ทำหน้าที่เหมือนบรรณารักษ์ กล่าวคือคอยรวบรวมข้อความ (Text) และ
แปลงรหัส หรือแปลงรูปแบบของข้อมูลให้เป็นรูปแบบการสื่อสารเดียวกัน เพื่อช่วยลดปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะเกิด ขึ้นกันผุ้ใช้งานในระบบ
  7. เลเยอร์ Application เป็นเลเยอรชั้นบนสุดของรูปแบบ OSI ซึ่งเป็นชั้นที่ใช้ติดต่อระหว่างผู้ใช้
โดยตรงซึ่งได้แก่ โฮสต์คอมพิวเตอร์ เทอร์มินัลหรือคอมพิวเตอร์ PC เป็นต้น แอปพลิเคชันในเลเยอรชั้นนี้ สามารถนำเข้า หรือออกจากระบบเครือข่ายได้โดยไม่จำเป็นต้องสนใจว่ามีขั้นตอนการทำงานอย่างไร เพราะจะ มีเลเยอร์ชั้น Presentation โดยตรงเท่านั้น



4. ให้นักศึกษากล่าวถึงประโยชน์ของระบบเครือข่ายและการสื่อสารข้อมูลมาอย่างน้อย 5 ข้อ

ตอบ 1.  สามารถแชร์ข้อมูลใช้ร่วมกันได้  ข้อมูลต่างๆในแต่ละเครื่องภายในระบบ  หากมีผู้อื่นต้องการใช้  คุณสามารถแชร์ให้ผู้อื่นนำไปใช้ได้ หรือข้อมูลที่เป็นส่วนรวมก็สามารถแชร์ไว้เพื่อให้หลายๆฝ่ายนำไปใช้งานได้  ซึ่งก็จะช่วยทำให้ประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บและช่วยให้การปรับปรุงข้อมูลในระบบง่ายขึ้นและไม่เกิดความขัดแย้งของข้อมูลด้วย เพราะข้อมูลมีอยู่ชุดเดียว

     2.  สามารถแชร์อุปกรณ์ต่างๆร่วมกันได้  เช่น เครื่องพิมพ์  สแกนเนอร์  ซิปไดร์ฟ  เป็นต้น  โดยที่ไม่จำเป็นต้องซื้ออุปกรณ์เหล่านั้นมาติดตั้งกับทุกๆเครื่อง  เช่นในบ้านคุณมีเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด 4 เครื่อง  อาจจะซื้อเครื่องพิมพ์มาเพียงตัวเดียวและแชร์เครื่องพิมพ์นั้นเพื่อใช้ร่วมกันได้

     3.  สามารถใช้โปรแกรมร่วมกันหลายๆเครื่องได้  เช่น  ในห้อง LAB  คอมพิวเตอร์ที่มีจำนวน คอมพิวเตอร์ที่มีจำนวนเครื่องในระบบจำนวน  30 เครื่อง  คุณสามารถซื้อโปรแกรมเพียงแค่ 1 ชุดและสามารถใช้งานร่วมกันได้  ซึ่งจะทำให้สะดวกในการดูแลรักษาด้วย

     4.  การสื่อสารในระบบเครือข่ายผู้ใช้สามารถเชื่อมกับเครื่องอื่นๆในระบบได้  เช่น  อาจจะส่งข้อความจากเครื่องของคุณไปยังเครื่องของคนอื่นๆได้  นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้ E - Mail ส่งข้อความข่าวสารต่างๆภายในสำนักงานได้อีก  เช่น  แจ้งกำหนดการต่างๆแจ้งข้อมูลต่างๆให้ทุกๆคนทราบ  โดยไม่ต้องพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์เพื่อแจกจ่าย  ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกทางหนึ่ง

     5.  การแชร์อินเทอร์เน็ต  ภายในระบบเครือข่ายคุณสามารถแชร์อินเตอร์เน็ตเพื่อใช้ร่วมกันได้  โดยที่คุณไม่จำเป้นต้องซื้อ Internet  Account สำหรับทุกๆเครื่องและไม่จำเป็นต้องติดตั้งโมเด็มทุกเครื่อง  ซึ่งก็จะช่วยให้คุณประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก

     6. เพื่อการเรียนรู้ การที่คุณได้ทดลองใช้งานระบบเครือข่ายจะทำให้คุณสามารถเรียนรู้และคุ้นเคยกับระบบเครือข่ายมากขึ้น 
ทำให้คุณมีประสบการณ์ในระบบเครือข่ายมากขึ้นและจะทำให้คุณรู้สึกว่ามันไม่ใช่เรื่องยากเลย
















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น