วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การบ้านหาคำศัพท์ Network ครั้งที่ 9 นายเอกชัย ไชยวิทย์ รหัสนักศึกษา 2561051542304




คำศัพท์เกี่ยวกับระบบ Network



1. ระบบเครือข่ายแบบเบสแบนด์ (Baseband) จะเป็นการสื่อสารข้อมูลที่สายสัญญาณหรือตัวกลางในการส่งผ่านสัญญาณสามารถส่งได้เพียงหนึ่งสัญญาณในเวลาขณะใดขณะหนึ่งเท่านั้น นั่นคือ อุปกรณ์ที่ใช้งานสายสัญญาณในขณะนั้นจะครอบครองช่องสัญญาณทั้งหมดโดยอุปกรณ์อื่นจะไม่สามารถร่วมใช้งานได้เลย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ระบบโทรศัพท์ เป็นต้น ซึ่งการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ส่วนมากจะเป็นการสื่อสารแบบ Baseband รวมทั้งการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์อื่น ๆ(เช่น เครื่องพิมพ์ จอภาพ) การสื่อสารผ่าน modems และการสื่อสารผ่านเครือข่ายหลักๆ ด้วย ยกเว้นเครือข่ายแบบ B-ISDN ที่เป็นแบบ Broadband

2. ระบบเครือข่ายแบบบรอดแบนด์ (Broadband) จะตรงข้ามกับ Baseband นั่นคือ จะเป็นการสื่อสารข้อมูลที่ตัวกลางในการส่งผ่านสัญญาณสามารถมีหลายช่องสัญญาณได้พร้อม ๆ กันโดยใช้วิธีแบ่งช่องความถี่ออกจากกัน ทำให้อุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถสื่อสารกันโดยใช้ช่องความถี่ของตนเองผ่านตัวกลางเดียว ตัวอย่างเช่น ระบบเครือข่าย Cable TV ซึ่งสามารถส่งสัญญาณมาพร้อมกันหลาย ๆ ช่องบนสายสื่อสารเส้นเดียว และผู้รับก็สามารถเลือกช่องความถี่ที่ต้องการชมได้ เป็นต้น

3. มัลติเพล็กซ์เซอร์ (Multiplexer : MUX) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ตัวเลือกข้อมูล(Data Selector) ซึ่งเป็นตัวที่ทำหน้าที่เลือกช่องสัญญาณที่มีข้อมูลช่องหนึ่งจากหลายๆช่องสัญญาณมาเป็นอินพุตและต่อช่องสัญญาณที่มีข้อมูลนั้นเข้าเป็นสัญญาณเอาต์พุตเพียงเอาต์พุตเดียว
          การมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งเวลา (Time Division Multiplexer หรือ TDM) เป็นวิธีที่เพิ่งจะได้รับการพัฒนาขึ้นมาได้ไม่นานนักการมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งเวลาจะใช้เส้นทางเพียงเส้นทางเดียวและคลื่นพาห์ความถี่เดียวเท่านั้นแต่ ผู้ใช้แต่ละคนนั้นจะได้รับการจัดสรรเวลาในการเข้าใช้ช่องสัญญาณที่ต้องการนั้นเพื่อส่งข้อมูลไปยังปลายทางที่ตนต้องการ
          การมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งความถี่ (Frequency Division Multiplexer หรือ FDM) เป็นวิธีที่ใช้กันทั้งระบบที่มีสายและระบบคลื่นวิทยุ ซึ่งหลักการของการมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งความถี่นี้คือ การนำสัญญาณจากแหล่งต่างๆมารวมกัน ให้อยู่ในคลื่นพาห์เดียวกันที่ความถี่ต่างๆ และสัญญาณเหล่านี้สามารถที่จะใช้เส้นทางร่วมกันได้ซึ่งต่างจากแบบแรกที่ไม่สามารถใช้ร่วมกันได้

4. Noise เป็นสิ่งไม่ต้องการของพลังงานไฟฟ้า และแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งจะลดคุณภาพของสัญญาณและข้อมูล noise ปรากฏในระบบดิจิตอล และอะนาล๊อก และสามารถมีผลกับไฟล์และการสื่อสารของไฟล์ทั้งหมด รวมถึงข้อความ โปรแกรม ภาพ และเสียงเป็นต้น ในวงจรสายแข็ง เช่น โทรศัพท์อินเตอร์เน็ตแบบใช้สาย external noise เป็นผลจากเครื่องใช้ในตำแหน่งใกล้เคียง, จากทรานส์ฟอร์มเมอร์, จากบรรยากาศ โดยปกติ noise ชนิดนี้มีผลเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีอย่างไรก็ตามในระยะพายุฟ้าคะนอง หรือในตำแหน่ง ที่มีอุปกรณ์ไฟฟ้าจำนวนมากกำลังใช้งาน external noise มีผลกับการสื่อสาร ในการติดต่อทางอินเตอร์เน็ต external noise จะทำให้อัตราการส่งข้อมูลช้าลง เพราะระบบต้องปรับความเร็วให้ตรงกับเงื่อนไขบนสาย การสนทนาทางโทรศัพท์ noise จะเป็นเสียงรบกวน noise เป็นปัญหาสำคัญในระบบไร้สายมากกว่าระบบสาย โดยทั่วไป จุดเริ่มต้นของ noise จากภายนอก ที่แปลงตามสัดส่วนความถี่ และสัดส่วนโดยตรงกับความยาวคลื่น ที่ความถี่ต่ำ เช่น 300 kHz noise จากบรรยากาศและไฟฟ้า จะมากกว่าที่ความถี่สูง เช่น 300 MHz ส่วน noise ที่เกิดภายในตัวรับไร้สาย เรียกว่า internal noise จะขึ้นต่อความถี่น้อย วิศวกรมีความเกี่ยวข้องกับ internal noise ที่ความถี่สูงมากกว่าที่ความถี่ต่ำ เพราะถ้า external noise ลดลง internal noise จะมีความสำคัญมากขึ้นวิศวกรการสื่อสาร มีการพัฒนาในทางที่ดีกว่าในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ noise วิธีการดั้งเดิมในการลดสัญญาณ bandwidth เพื่อการขยายระยะมากขึ้น การลดสเปคทรัม ของสัญญาณที่ใช้งาน จะลด noise ที่ผ่านไปยังวงจรลับ อย่างไรก็ตาม การลด bandwidth จำกัดความเร็วสูงสุดของข้อมูลในการส่ง การพัฒนาแบบแผนในทางผลกระทบของ noise เรียกว่า digital signal processing การใช้ fiber optics เทคโนโลยีที่ไม่ไวต่อ noise

5. Packet Lost โดยการวัดจากเปอร์เซ็นต์ของแพ็กเก็ตที่ไม่ถึงจุดหมายปลายทาง หากสูงกว่า 3% ถือว่าเครือข่ายนั้นไม่เหมาะสมกับการใช้งาน VoIP เนื่องจากอาจจะมีปัญหาสัญญาณเสียงขาดตอน ซึ่งปัญหา packet loss นี้ จะเพิ่มมากขึ้นตามลักษณะการใช้งานของระบบเครือข่ายที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะจุดที่มีการ overload ของสัญญาณ 

6. Jitter คือประเด็นด้านคุณภาพของระบบเครือข่ายที่วัดจากความแปรปรวนของเวลาที่ใช้ในการเดินทางของแพ็กเก็ตที่เป็นสัญญาณเสียง (Voice Information Packet) ซึ่งอุปกรณ์ VoIP ที่ฝั่งผู้รับสามารถบรรเทาปัญหานี้ ได้ด้วยการจัดให้แพ็กเก็ตที่ได้รับมารวมตัวกันอยู่ใน jitter buffer ก่อนแปลงเป็นสัญญาณเสียงที่ไม่มีการสะดุดหรือขาดตอน Jitter Buffer มีค่าความยาวเป็นมิลลิวินาที (Millisecond) หรือที่เรียกว่า Jitter Buffer Depth ซึ่งควรมีค่าประมาณ 2 เท่าของขนาดของความแปรปรวนของระยะเวลาในการเดินทางของแพ็กเก็ตหรือ jitter ที่เกิดขึ้นจริงในระบบเครือข่าย หากค่า jitter มากกว่า 50 มิลลิวินาทีแล้ว จะเป็นการยากที่จะได้สัญญาณเสียงที่ราบเรียบ อีกทั้งการใช้ jitter buffer บ่อยครั้ง ก็จะยังผลให้เกิดอาการสัญญาณเสียงขาดหายเป็นช่วง ๆ  ดังนั้นการปรับตั้งค่า Jitter Buffer Depth จึงต้องมีความเหมาะสมกับลักษณะของระบบเครือข่ายด้วย 

7. Latency คือระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทางของแพ็กเก็ตจากต้นทางไปยังปลายทาง หากใช้เวลามากกว่า 150-200 มิลลิวินาที อาจเป็นปัญหาสำหรับอุปกรณ์ VoIP ได้ในรูปของเสียงสะท้อนหรือเสียงก้อง และหากมีค่ามากกว่า 400 มิลลิวินาทีอาจมีผลกระทบต่อความชัดเจนของเสียงสนทนา  แต่ทั้งนี้หากการสื่อสารของทั้งระบบเป็นอุปกรณ์แบบดิจิตอลทั้งหมด ปัญหาเรื่องเสียงก้องหรือเสียงสะท้อนก็จะน้อยมาก 

8. Raw Bandwidth เป็นสิ่งที่ผู้ใช้บริการระบบเครือข่ายคุ้นเคยกันดี เนื่องจากเป็นค่าที่แสดงถึงปริมาณข้อมูลที่ระบบเครือข่ายสามารถรองรับได้ต่อการเชื่อมต่อแต่ละจุด เช่น หากมีเครือข่าย T1 ที่ใช้สำหรับเครือข่ายข้อมูลโดยเฉพาะ นั่นหมายถึงขนาดของ Raw Bandwidth คือ 1.5 Mbits  การเชื่อมต่อแบบ DSL (Digital Subscriber Line) ในบางครั้งก็มีข้อจำกัดในเรื่องของ bandwidth ขารับ (download) และขาส่ง (upload) มีค่าไม่เท่ากัน ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่ความเร็วในการ download 768 Kbits และความเร็วในการ upload 128 Kbits ซึ่งผู้ให้บริการระบบเครือข่ายสามารถบอกได้ถึงขนาดของ bandwidth ที่เพียงพอหรือเหมาะสมสำหรับการใช้งานแบบ voice application 

9. คอขวด หรือ Bottleneck เป็นสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในกรณีที่ผู้รับและผู้ส่งมีขนาดของ available bandwidth ไม่เท่ากัน เช่นการเชื่อมต่อที่ฝั่งต้นทางใช้แบบ T1 แต่การเชื่อมต่อของฝั่งปลายทางใช้แบบ Dial Up ที่ความเร็ว 53 Kbps 

10. Codecs ก่อนที่จะทราบว่าระบบเครือข่ายที่มีอยู่จะสามารถรองรับข้อมูลสัญญาณเสียงได้หรือไม่นั้น จะต้องทราบปริมาณของข้อมูลสัญญาณเสียงที่ต้องการใช้งานก่อน โดยสามารถประมาณการณ์ได้จากการนับจำนวนการใช้โทรศัพท์ที่จะใช้ผ่านระบบเครือข่าย คูณด้วยปริมาณของการจราจรทางระบบเครือข่ายต่อการโทรหนึ่งครั้ง หรือที่เรียกว่า traffic-per-call ที่ขึ้นอยู่กับ codec ที่ใช้ โดยที่ codec หมายถึงวิธีการเข้ารหัสสัญญาณเสียงให้กลายเป็นข้อมูลที่สามารถส่งผ่านทางระบบเครือข่ายได้ ดังแสดงในตาราง






           จากตารางข้างต้นจะเห็นได้ว่า Codec G.711 ให้คุณภาพเสียงเช่นเดียวกันกับคุณภาพเสียงที่ได้จากระบบโทรศัพท์ทั่วไป แต่ต้องใช้ available bandwidth ถึงประมาณ 80 Kbps ต่อการใช้โทรศัพท์หนึ่งครั้ง ส่วน G.729 ให้คุณภาพเสียงที่เป็นรองจาก G.711 แต่ใช้ available bandwidth เพียงประมาณ 26 Kbps เท่านั้น ต่อการใช้โทรศัพท์ในแต่ละครั้ง 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น