วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การบ้านหาคำศัพท์ Network ครั้งที่ 10 นายเอกชัย ไชยวิทย์ รหัสนักศึกษา 2561051542304



คำศัพท์เกี่ยวกับระบบ Network



1. echo สะท้อน, เมื่อติดต่อผ่านทางโมเด็ม จะมีการแสดงตัวอักขระที่ป้อนเข้าไปออกมายังหน้าจอคอมพิวเตอร์ ถ้าเราไม่เห็นว่าป้อนอะไรเข้าไป ถือว่าไม่มีการแสดงตัวอักขระ ถ้าเราเห็นคำซ้ำๆ ปรากฏออกมา
          คำสั่ง Echo ในดอสและโอเอส/ทู ใช้แสดงผลแต่ละบรรทัดในแฟ้มแบตช์ออกมาบนจอภาพขณะทำงาน การป้อนคำสั่ง ECHO OFF ในแฟ้มแบตช์จะทำให้คอมพิวเตอร์ไม่แสดงผลคำสั่งบนจอภาพ แม้ว่าคอมพิวเตอร์จะแสดงผลออกมา

2. Data:  Analog :คือ จะมีลักษณะที่ต่อเนื่องกัน เช่น เสียงพูดของมนุษย์ เสียงดนตรี วีดีโอ เป็นต้น
               Digital: คือ  จะมีลักษณะที่ไม่ต่อเนื่องกัน ส่วนของข้อมูลดิจิตอลจะประกอบด้วยเลขฐาน2

3. Signal: Analog : เป็นสัญญาณที่มีลักษณะเป็นรูปคลื่นที่มีลักษณะต่อเนื่อง
                Digital:  เป็นสัญญาณแบบไม่ต่อเนื่องที่อยู่ในรูปแบบของระดับแรงดันไฟฟ้าที่เป็นรูปคลื่นสี่เหลี่ยม

4. Digital Data-->Signal Options การแปลงข้อมูลดิจิตอลให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก Digital Data to Analog Signal สำหรับการแปลงข้อมูลดิจิตอลให้เป็นสัญญาณแอนะล็อกจะใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า โมเด็ม ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์(ดิจิตอล) บนระบบการสื่อสารแบบแอนะล็อกในขณะที่โมเด็มปลายทางก็สามารถแปลงสัญญาณแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิตอลเพื่อส่งให้กับคอมพิวเตอร์เพื่อนำไปใช้งานต่อไป การแปลงข้อมูลดิจิตอลให้เป็นสัญญาณดิจิตอล Digital Data to Digital Signal จะมีเทคนิควิธีการเข้ารหัสสัญญาณดิจิตอลหลายวิธีด้วยกัน เช่น
-NRZ-L จัดเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการส่งสัญญาณดิจิตอลโดยใช้ระดับแรงดัน มีข้อเสีย ตรงที่ยากต่อการตัดสินใจว่าจุดใดเป็นจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดของช่วงสัญญาณ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสำคัญทีเดียวสำหรับการนำไปซิงโครไนซ์
-NRZ-I จะคล้ายกับเทคนิค NRZ-L แต่มีความแม่นยำกว่าตรงที่มีการเปรียบเทียบระดับสัญญาณ
-Manchester ใช้สำหรับเครือข่ายท้องถิ่น โดยการเข้ารหัสแบบแมนเชสเตอร์นั้น จะมีการเปลี่ยนแปลงที่จุดกึ่งกลางของต่ละช่วงบิต เพื่อใช้แทนบิตข้อมูลและกำหนดจังหวะ
-Differential Manchester .ใช้งานบนเครือข่ายโทเค็นริงจะพิจารณาจากช่วงกลางบิตเพื่อใช้สำหรับกำหนดจังหวะClocking เท่านั้น

5. Analog Data-->Signal Options การแปลงข้อมูลแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก Analog Data to Analog Signal
จัดเป็นรูปแบบที่ง่าย มีต้นทุนต่ำ โดยจะแทนข้อมูลแอนะล็อกด้วยสัญญาณแอนะล็อก เช่น ระบบวิทยุกระจายเสียง
            การแปลงข้อมูลแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิตอล Analog Data to Digital Signal
จะใช้อุปกรณ์ที่ชื่อว่า โคเดค CODEC จัดเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ใช้สำหรับแปลงข้อมูลแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิตอลด้วยการใช้เทคนิค Voice Digitization ตัวอย่างอุปกรณ์ โคเดค เช่น ซาวน์การ์ด สแกนเนอร์ วอยซ์เมล และวีดีโอคอนเฟอเร็นซ์

6. Parity Checks เป็นเทคนิคการตรวจจับข้อผิดพลาดอย่างง่าย และเก่าแก่ โดยเพิ่มบิตเข้าไปในแต่ละหนึ่งตัวอักษร ซึ่งเป็นบิตที่ตรวจสอบความถูกต้อง มี 2 กรณี คือ even parity และ odd parity

7. Cyclic Redundancy Checksum เป็นวิธีที่นิยมใช้บนเครือข่ายท้องถิ่นและจัดได้ว่าเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าวิธีการใช้รหัสตรวจสอบและหาผลรวม เนื่องจากสามารถตรวจจับข้อผิดพลาดได้มากถึง99.9999% นิยมใช้บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

8. Polynomial Checking เป็นการใช้รหัสโพลีนอเมียล ซึ่งต้องมีคุณสมบัติโดยบิตซ้ายสุดและบิตขวาสุดต้องมีค่าเป็น 1 เสมอ

9. Attenuation (dB) คือ ค่าสัญญาณรบกวนภายในสาย ไม่ควรจะเกิน 50dB ทั้ง local และ remote (ยิ่งน้อยยิ่งดี)

10. SNR Margin (dB) คือ ค่าความเข้มของสัญญาณ ไม่ควรจะต่ำกว่า 10dB ทั้ง local และ remote (ยิ่งมากยิ่งดี)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น